•  
  •  
 

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาครูวิชาชีพ จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย โดยทั่วไปการใช้เครือข่ายเพื่อการสื่อสารทั่วโลกได้ถูกนำมาใช้ระหว่างตัวบุคล กลุ่ม และองค์กร ซึ่งการศึกษานี้เป็นแนวโน้มใหม่ที่ตรงข้ามกับรูปแบบ ?การทำงานแบบตัวบุคคล? ในการสอนและเรียนรู้ซึ่งเห็นได้โดยทั่วไปสำหรับครูหรือบุคลากรทางการศึกษา ประเด็นคลุมเครือที่มากขึ้นและยากให้การอภิปรายถึง ?การเรียนรู้อย่างเชี่ยวชาญของครูวิชาชีพ? ในบทความวิจัยนี้ได้ศึกษา 3 กระบวนการความคิดหลัก ได้แก่ เครือข่ายการเรียนรู้ เครือข่ายสังคมออนไลน์ และการเรียนรู้อย่างเชี่ยวชาญของครูวิชาชีพ งานวิจัยนี้ใช้การวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย และการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การจัดการประชุมกลุ่มเป้าหมาย การทดลองรูปแบบ และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา งานวิจัยนี้ใช้วิธีการพัฒนารูปแบบด้วยการทดลองรูปแบบและกระบวนการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครูผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ และได้ข้อสรุปจากการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า รูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย คือ รูปแบบ ?WISEST HOPE Model? โดยให้ครูทำกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น การเรียนรู้อย่างเชี่ยวชาญของครูวิชาชีพผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์แสดงผลอย่างมีนัยสำคัญ

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.45.4.10

First Page

164

Last Page

176

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.