•  
  •  
 

Abstract

การวิจัยแบบผสมวิธีเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2546-2556 ศึกษาความต้องการในการผลิต การใช้ และการพัฒนาครู การศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต พ.ศ.2557-2566และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต ผู้วิจัยใช้การวิจัยเอกสาร การวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเพื่อวิเคราะห์ค่าความต้องการจำเป็น (PNI modified) ด้านการผลิต การใช้ การพัฒนาครู และคุณลักษณะของครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิเคราะห์แนวโน้มและความต้องการในอนาคต (Trend Analysis) การจัดทำวงล้ออนาคต (Futures Wheel Technique) และการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ผลการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ว่า ในด้านการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีจำนวนนักศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรีในสถาบันผลิตครูเพิ่มขึ้นประมาณสองเท่าตั้งแต่ปีการศึกษา 2553-2556 การใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีปัญหาด้านการบริหารงานบุคคล ความก้าวหน้าและมั่นคงในการทำงาน และจรรยาบรรณวิชาชีพครู ส่วนการพัฒนาครูมีปัญหาเชิงระบบที่สำคัญ คือ การพัฒนาครูไม่ยึดสมรรถนะ เน้นทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติ ขาดนวัตกรรมการพัฒนาที่ส่งผลต่อการพัฒนาสู่มืออาชีพ ไม่มีระบบการพัฒนาครูใหม่โดยเฉพาะครูผู้ช่วย ขาดระบบเชื่อมโยงระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้อง ผลการวิเคราะห์ค่าความต้องการจำเป็นในอนาคต พบว่า สิ่งที่ต้องดำเนินการเร่งด่วนมากที่สุดในด้านการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การมีระบบติดตามและประเมินผลการผลิตครูที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ (PNI modified = 1.01) การผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในเชิงคุณภาพ (PNI modified = 0.91) และการที่ระบบการผลิตครูสามารถดึงดูดคนดีคนเก่ง มีใจรักวิชาชีพครู มาเป็นครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน (PNI modified = 0.71) ในด้านความต้องการจำเป็นในการใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ต้องดำเนินการเร่งด่วนมาก คือ การมีระบบครูพี่เลี้ยงที่ส่งเสริมการปฏิบัติงานของครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ปฏิบัติในช่วงแรก (PNI modified = 0.78) การมอบหมายภาระงานให้กับครูการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเหมาะสม (PNI modified = 0.73) สำหรับผลการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคตที่สำคัญ คือ การพัฒนาครูให้มีความเชื่อมโยงกับคุณภาพการผลิตบัณฑิตและการพิจารณาผลการปฏิบัติงานของครู การพัฒนาครูให้มีจรรยาบรรณวิชาชีพครูและจิตวิญญาณความเป็นครูซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเป็นครู

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.45.3.2

First Page

17

Last Page

33

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.