Abstract
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สถานการณ์การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย โดยผู้ปกครองที่ไม่ใช่พ่อแม่ และ 2) นำเสนอนวัตกรรมการอบรมเลี้ยงดูเพื่อสร้างความผูกพันกับเด็กต่ำกว่า 2 ปี ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูล 2 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ ผลกระทบ และแนวทางการส่งเสริมสวัสดิภาพ คุ้มครองและพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัย ระยะที่ 2 พัฒนานวัตกรรมเสริมสร้างความผูกพัน กลุ่มตัวอย่าง คือ เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ 264 คน จาก 4 ภูมิภาค และตัวแทนเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 27 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่มียายเป็นผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยมากที่สุด สาเหตุหลักของการเลี้ยงดูเด็กโดยบุคคลอื่นคือการย้ายถิ่นไปทำงานในเขตเมืองของพ่อแม่ และการหย่าร้าง พ่อแม่สามารถเลี้ยงบุตรหลังคลอดได้เพียงสามเดือนแรกเท่านั้น ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องการให้มีข้อมูลทะเบียนครอบครัวและศูนย์เลี้ยงดูเด็กในชุมชนเป็นที่ต้องการมากที่สุด และควรจัดให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยโดยศูนย์พัฒนาครอบครัว 2) คู่มือนวัตกรรมเสริมสร้างความผูกพันประกอบด้วยชุดเอกสารให้ความรู้ผู้เลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี และกิจกรรมการเล่นและเกมปฏิสัมพันธ์
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.45.3.13
First Page
188
Last Page
205
Recommended Citation
กุลพิจิตร, อุดมลักษณ์ and พุทธิกุล, พัชราภรณ์
(2017)
"การวิเคราะห์สถานการณ์ของการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองที่ไม่ใช่พ่อแม่และการนำเสนอนวัตกรรมเสริมสร้างความผูกพันในครอบครัว,"
Journal of Education Studies: Vol. 45:
Iss.
3, Article 13.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.45.3.13
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol45/iss3/13