Abstract
การสังเกตอย่างใคร่ครวญเป็นเครื่องมือพัฒนาความสามารถในการไตร่ตรองตนเองของครูปฐมวัย โดยสร้างโอกาสให้ได้ฝึกฝนการสังเกตใน 2 ลักษณะ ได้แก่ การสังเกตตนเอง ผ่านการฝึกสติรู้ตัวและการทำงานศิลปะ และการสังเกตสิ่งภายนอก โดยสังเกตสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ก้อนหิน ต้นไม้ และสังเกตเด็กอนุบาลซึ่งมีชีวิตจิตใจ ทั้งนี้จำเป็นต้องใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้ครูเคลื่อนระดับจากการไตร่ตรองตนเองในระดับผิวไปสู่ระดับที่ลึกขึ้น ร่วมกับการใช้บันทึกสะท้อนการเรียนรู้รายบุคคลซึ่งเป็นเทคนิคที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาความสามารถในการไตร่ตรองตนเอง โดยตั้งคำถามให้ครูได้ทบทวนเหตุผลหรือเบื้องหลังการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ประกอบกับการให้ข้อมูลป้อนกลับเป็นระยะในระหว่างการเรียนรู้ และในวงสุนทรียสนทนาช่วยให้ครูเข้าใจกระบวนในการไตร่ตรองตนเองมากขึ้น คุณภาพการประเมินเด็กจะเกิดขึ้นได้ย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถของครูในการดำเนินการอย่างเป็นระบบและปราศจากอคติ เพื่อให้ได้ข้อมูลพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กตามความเป็นจริง อันจะนำไปสู่การออกแบบการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นและความสนใจของเด็กในชั้นเรียนอย่างแท้จริงโดยอาศัยการไตร่ตรองตนเองอย่างสม่ำเสมอ การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยที่มีความเป็นธรรมจะเกิดขึ้นได้ เมื่อครูตระหนักรู้ต่ออคติ ความคาดหวัง และความลำเอียงที่มีอยู่ภายในใจ จำเป็นอย่างยิ่งที่ครูต้องห้อยแขวนการตัดสินใดใดที่เกิดขึ้นในระหว่างการสังเกตเด็ก ครูต้องเปิดใจ รับฟัง ไม่รีบตัดสิน และไวต่อการตอบสนองต่อเด็ก ซึ่งสร้างให้เกิดความรู้สึกเห็นใจและความจริงใจในปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างครูที่มีสติรู้ตัวและเด็กในชั้นเรียน
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.45.2.15
First Page
225
Last Page
237
Recommended Citation
ขยันกิจ, ศศิลักษณ์
(2017)
"การสังเกตอย่างใคร่ครวญเพื่อส่งเสริมความสามารถในการไตร่ตรองตนเองของครูปฐมวัย,"
Journal of Education Studies: Vol. 45:
Iss.
2, Article 15.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.45.2.15
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol45/iss2/15