Abstract
ทักษะการแก้ปัญหาเป็นเป้าหมายสำคัญของหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ การตั้งปัญหาเป็นแนวคิดที่ได้นักการศึกษาคณิตศาสตร์แนะนำให้ครูคณิตศาสตร์นำไปใช้ เพื่อพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาให้กับผู้เรียน การตั้งปัญหาคณิตศาสตร์ เป็นการกำหนดปัญหาคณิตศาสตร์ขึ้นมาใหม่จากบริบทซึ่งอาจเป็นข้อมูล สถานการณ์ หรือจากการปรับเปลี่ยนข้อมูลหรือเงื่อนไขจากปัญหาเดิม การตั้งปัญหาและการแก้ปัญหาเป็นกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกัน กิจกรรมการตั้งปัญหาสามารถดำเนินการควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาซึ่งสามารถดำเนินการได้ทั้งก่อน ระหว่างและหลังการแก้ปัญหา ในบทความนี้ จะนำเสนอตัวอย่างกิจกรรมการตั้งปัญหา รวมถึงประเด็นที่ควรนำมาพิจารณาในการออกแบบและจัดกิจกรรมการตั้งปัญหา คือ ครูควรกำหนดบริบทของการตั้งปัญหาให้มีความหลากหลายทั้งที่เป็นบริบทคณิตศาสตร์และบริบทในชีวิตประจำวัน ให้ความสำคัญกับการตั้งประเด็นปัญหาหรือคำถามมากกว่าการหาวิธีการหาคำตอบของปัญหาที่ตั้งขึ้น การสนับสนุนและการช่วยเหลือของครูของขณะทำกิจกรรม และการกำหนดเวลาของการทำกิจกรรมให้เหมาะสม เพื่อเป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในการนำไปปรับใช้กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาต่อไป
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.45.2.13
First Page
195
Last Page
208
Recommended Citation
น่วมนุ่ม, ไพโรจน์
(2017)
"การตั้งโจทย์ปัญหาในชั้นเรียนคณิตศาสตร์,"
Journal of Education Studies: Vol. 45:
Iss.
2, Article 13.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.45.2.13
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol45/iss2/13