•  
  •  
 

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์การรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนของสถาบันการพลศึกษา 2) วิเคราะห์เปรียบเทียบการดำเนินงานตามการรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริม สุขภาวะชุมชนของสถาบันการพลศึกษากับแนวคิดยุทธศาสตร์ไตรพลัง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างผู้บริหารสถาบันการพลศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 19 คน ได้แก่ อธิการบดีสถาบันการพลศึกษา รองอธิการบดีสถาบันการพลศึกษา ฝ่ายกิจการพิเศษและกิจการนักศึกษา รองอธิการบดีสถาบันการพลศึกษา ประจำวิทยาเขต 17 วิทยาเขตทั่วประเทศ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตีความข้อมูลแบบอุปนัย และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนของสถาบันการพลศึกษา สามารถแบ่งได้ 2 ช่วงเวลา ดังนี้ (1) การรับรู้บทบาทของวิทยาลัยพลศึกษา ก่อนปี พ.ศ. 2548 และ (2) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ถึงปัจจุบัน พบว่า การดำเนินงานตามพันธกิจของวิทยาลัยพลศึกษาและสถาบันการพลศึกษา สามารถแบ่งได้ 2 รูปแบบ ประกอบด้วย การบริการวิชาการภายใน คือ การเปิดสถานที่ให้แก่ชุมชนออกกำลังกาย เล่นกีฬา และจัดการแข่งขันกีฬาระดับท้องถิ่น จนถึงระดับชาติ การบริการวิชาการภายนอก คือ การสนับสนุนบุคลากรเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องพลศึกษา กีฬา สุขศึกษา นันทนาการ และเผยแพร่การละเล่นพื้นบ้าน เมื่อเป็นสถาบันการพลศึกษามีการให้ความรู้โดยใช้นวัตกรรมการออกกำลังกายแบบผ้าขาวม้าลมปราณและผ้าขาวม้ามันตรา การบริการวิชาการภายนอกมีโครงการความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำหรับความคาดหวัง พบว่า ควรมีการใช้สื่อสารมวลชนและกิจกรรมรณรงค์เชิญชวนให้ออกกำลังกาย การเป็นศูนย์กลางการกีฬาในท้องถิ่น ควรมีการสร้างเครือข่ายสุขภาพที่เข้มแข็งที่ประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง ควรมีการเน้นกระบวนการที่ดีในการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชน และควรมีการสร้างรูปแบบความร่วมมือเริ่มจากการประสานงาน วางแผนงานร่วมกัน เป้าหมายร่วมกัน ร่วมกันดำเนินงาน ร่วมกันประเมินโครงการ 2) การเปรียบเทียบการรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาพของสถาบันการพลศึกษากับแนวคิดยุทธศาสตร์ไตรพลัง พบว่า ก่อน พ.ศ. 2548 และตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ถึงปัจจุบันมีการดำเนินงานตามการรับรู้บทบาทที่สอดคล้องกับแนวคิดยุทธศาสตร์ไตรพลัง ดังนี้ พลังปัญญา คือ มีองค์ความรู้อย่างพอเพียงของสถาบันเอง ความรู้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและบริบท และมีการพัฒนาความรู้ที่ทันสมัยและต่อเนื่อง ความคาดหวังครบทุกประเด็นโดยเพิ่มองค์ความรู้อย่างพอเพียงจากทุกภาคส่วน และมีกระบวนการเรียนรู้กับของฝ่ายต่าง ๆ เสริมพลังปัญญาสู่ทิศทางเดียวกัน พลังนโยบายคือ มีนโยบายส่งผลกระทบกับคนในวงกว้างและมีผลสืบเนื่องยาวนานกว่าการณณรงค์ ความคาดหวัง มีความสอดคล้องกับการรับรู้บทบาทและพลังสังคม คือ มีบทบาทการรณรงค์และการเฝ้าระวังในการสร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง การสร้างเครือข่ายภาคีทางสังคมและทุกภาคส่วนและทุกช่วงวัย ความคาดหวังครบทุกประเด็นโดยเพิ่ม การมีกระบวนการ การบูรณาการ การพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันในลักษณะเครือข่าย

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.44.2.12

First Page

202

Last Page

219

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.