Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ระหว่างก่อน และหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยการตั้งปัญหา 2) เปรียบเทียบมโนทัศน์ฟิสิกส์ระหว่างก่อน และหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยการตั้งปัญหา 3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ของนักเรียนกลุ่มที่เรียนโดยการตั้งปัญหากับกลุ่มที่เรียนแบบปกติ 4) เปรียบเทียบมโนทัศน์ฟิสิกส์ของนักเรียนกลุ่มที่เรียนโดยการตั้งปัญหากับกลุ่มที่เรียนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิต สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ ในกรุงเทพมหานคร ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 2 ห้องเรียน โดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนสอบวิชา ว33204 ฟิสิกส์ 4 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 30 คน เรียนฟิสิกส์โดยการตั้งปัญหา และกลุ่มควบคุมจำนวน 32 คน เรียนฟิสิกส์ด้วยวิธีสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.30?0.73 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.32-0.54 และได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.84 2) แบบวัดมโนทัศน์ เรื่อง ความร้อน และทฤษฎีจลน์ของแก๊ส มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.30?0.80 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27-0.60 และได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.71 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่เรียนโดยการตั้งปัญหา มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับทางสถิติ .05 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่เรียนโดยการตั้งปัญหามีมโนทัศน์ฟิสิกส์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับทางสถิติ .05 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่เรียนโดยการตั้งปัญหามีความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์สูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับทางสถิติ .05 4) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่เรียนโดยการตั้งปัญหามีมโนทัศน์ฟิสิกส์สูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติออย่างมีนัยสำคัญที่ระดับทางสถิติ .05
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.43.4.8
First Page
112
Last Page
128
Recommended Citation
บุบผโชติ, อมรรัตน์
(2015)
"ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการตั้งปัญหาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ และมโนทัศน์ฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ ในกรุงเทพมหานคร,"
Journal of Education Studies: Vol. 43:
Iss.
4, Article 8.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.43.4.8
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol43/iss4/8