Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขง 2) เพื่อศึกษาแนวทางกระบวนการเรียนรู้ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขงวิธีการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ในการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการศึกษากรณีศึกษา (Case study) คือ เครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา การวิจัยได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก อภิปรายกลุ่ม การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การใช้เทคนิคการศึกษาการประเมินสภาวะชนบทอย่างเร่งด่วน ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการเรียนรู้ของเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง ? ล้านนา ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขง แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้ (1) การก่อรูปกระบวนการเรียนรู้ ของคน กลุ่มคน ชุมชน ในพื้นที่ลุ่มน้ำ (2) การเชื่อมร้อยเครือข่ายการเรียนรู้ภายในลุ่มน้ำ (3) การสร้างพื้นที่การเรียนรู้ในลุ่มน้ำ และ (4) การโยงใยเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างลุ่มน้ำ 2) แนวทางกระบวนการเรียนรู้ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขง ประกอบด้วย (1) แนวทางการเรียนรู้ในการสร้างผู้กระทำการ (2) แนวทางการเรียนรู้ในการปฏิบัติการ (3) แนวทางการเรียนรู้ในการสร้างพื้นที่ทางสังคมและ (4) แนวทางการเรียนรู้ในการสะสมและแสวงหาทุน
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.43.4.4
First Page
45
Last Page
62
Recommended Citation
ยืนยง, ภัทร and รักษ์พลเมือง, ชนิตา
(2015)
"การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขง,"
Journal of Education Studies: Vol. 43:
Iss.
4, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.43.4.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol43/iss4/4