Abstract
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์แนวคิด องค์ประกอบการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักพุทธธรรมไตรสิกขา เพื่อพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมจิตสาธารณะนักศึกษาปริญญาบัณฑิต และประเมินผลการพัฒนาโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทดลอง คือนักศึกษาปริญญาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จำนวน 30 คน ดำเนินการทดลอง 8 วัน 3 ระยะ รวม 48 ชั่วโมง โดยใช้เครื่องมือ คือแบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบสอบถาม แผนการจัดกิจกรรม แบบวัดจิตสาธารณะ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อโปรแกรม โดยวิเคราะห์ข้อมูลความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระแก่กัน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ แนวคิด องค์ประกอบ พบว่า มีหลักคิดสำคัญ คือการน้อมนำประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ด้านดำเนินการจัดกิจกรรม และมีขั้นการจัดการเรียนรู้ โดยใช้หลักไตรสิกขา 3 ขั้นตอนคือ ศีล สมาธิ และปัญญา 2) ผลการพัฒนาโปรแกรม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการประเมินผลการพัฒนาโปรแกรม พบว่า (3.1) ระดับพฤติกรรมจิตสาธารณะในภาพรวม สูงกว่าก่อนการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจากการวิเคราะห์เนื้อหา มีการพัฒนาด้าน กาย ศีล จิต ปัญญา ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด (3.2) ผลการประเมินโครงการสร้างเสริมจิตสาธารณะ ทุกโครงการผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด (3.3) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อโปรแกรม อยู่ในระดับมากที่สุด
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.43.4.2
First Page
14
Last Page
28
Recommended Citation
เดชสุระ, ชัยยศ and หงษ์ศิริวัฒน์, อรุณี
(2015)
"การพัฒนาโปรแกรมโดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักพุทธธรรมไตรสิกขาเพื่อสร้างเสริมจิตสาธารณะนักศึกษาปริญญาบัณฑิต,"
Journal of Education Studies: Vol. 43:
Iss.
4, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.43.4.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol43/iss4/2