Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเปิดปิดภาคเรียนในกลุ่มประเทศอาเซียนและในภูมิภาคต่างๆ 2) วิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสีย ปัญหา-อุปสรรค และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และ 3) ศึกษาการเตรียมความพร้อม ความสนใจ และข้อเสนอแนะจากการเปิดปิดภาคเรียนตามประชาคมอาเซียนของสถาบันอุดมศึกษา โดยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร การสำรวจความคิดเห็น และการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหาร นักวิชาการ ผู้ปกครอง นักเรียน และผู้ใช้บัณฑิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) การเปิดภาคเรียนของมหาวิทยาลัยในประเทศกลุ่มทวีปอเมริกาส่วนใหญ่จะเปิดภาคเรียนแรกในเดือนกันยายนและภาคเรียนที่สองกลางเดือนมกราคม ในทวีปยุโรปจะเปิดเรียนแรกช้ากว่าเล็กน้อย ขณะที่ประเทศในทวีปเอเชียและอาเซียนมีความหลากหลายและแตกต่างกัน 2) การเลื่อนเปิดภาคเรียนมีประโยชน์หรือข้อดี ได้แก่ ความเป็นสากลสอดคล้องกับประชาคมอาเซียน การจัดกิจกรรมทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนอาจารย์หรือนักศึกษา แต่อาจมีข้อเสียหรือปัญหาอุปสรรค ได้แก่ สภาพอากาศช่วงฤดูร้อนไม่เหมาะสมกับการเรียนการสอน ต้องใช้เครื่องปรับอากาศและเสียค่าไฟฟ้ามากกว่าปกติ รวมทั้งการฝึกงานหรือการฝึกสอนของนิสิตนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต และการวิจัยทางเกษตร 3) สถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่มีการเตรียมความพร้อมหรือดำเนินการใดๆ แต่บางสถาบันได้ดำเนินการ เช่น การเลื่อนเวลาการเปิดภาคเรียนให้ช้าลง การประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรและนักศึกษาได้ทราบ ข้อเสนอแนะรัฐบาลควรกำหนดเวลาในการเปิดปิดภาคเรียนให้สอดคล้องกันทั้งระบบ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ปกครองและนักเรียนได้ทราบเพื่อจะได้วางแผนการดำเนินชีวิตให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.42.4.5
First Page
63
Last Page
77
Recommended Citation
ภิรมย์คำ, บรรจบ; สุวรรณ, สุมิตร; รัตนพลแสนย์, ชูวิทย์; วงศ์สายเชื้อ, ฐณัฐ; เชาว์วัฒนกุล, กนิษฐา; and วราสุนันท์, พินดา
(2014)
"ผลกระทบจากการเปิดปิดภาคเรียนตามประชาคมอาเซียนของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย,"
Journal of Education Studies: Vol. 42:
Iss.
4, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.42.4.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol42/iss4/5