•  
  •  
 

Abstract

การวิจัยผสานวิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันตามวงจร PDCA ๒) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตครู ๓) สร้างและประเมิน รูปแบบการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๓๑๒ คน อาจารย์นิเทศก์ ๑๖๙ คน และครูพี่เลี้ยง ๒๖๒ คน ได้มาจากการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน รูปแบบ สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณา ค่าความแปรปรวนพหุ (MANOVA) ผลการวิจัย พบว่า ๑) การบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูตามการรับรู้ของอาจารย์นิเทศก์ มีคะแนน มากกว่าเกณฑ์ ส่วนการรับรู้ของครูพี่เลี้ยง มีคะแนนน้อยกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๒) แนวทางการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ตาม ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตครู พบว่าควรจัดการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน เน้นฝึกวิเคราะห์ ควรบ่มเพาะความเป็นครูตั้งแต่ปี ๑ สถานฝึกประสบการณ์วิชาชีพต้องมีความพร้อม อาจารย์นิเทศก์มีทักษะ การจัดการเรียนรู้และวิจัย ครูพี่เลี้ยงเป็นแบบอย่างที่ดี ๓) รูปแบบการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ ๔ ขั้นตอน ได้แก่ วางแผน ปฏิบัติ ตรวจสอบ และปรับปรุง องค์ประกอบคุณภาพครูยุคใหม่มี ๓ ด้าน คือ ความรู้ การจัดการเรียนรู้ และคุณลักษณะความเป็นครู ผลการประเมินรูปแบบมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.42.2.8

First Page

104

Last Page

116

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.