Abstract
การวิจัยผสานวิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันตามวงจร PDCA ๒) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตครู ๓) สร้างและประเมิน รูปแบบการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ๓๑๒ คน อาจารย์นิเทศก์ ๑๖๙ คน และครูพี่เลี้ยง ๒๖๒ คน ได้มาจากการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน รูปแบบ สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณา ค่าความแปรปรวนพหุ (MANOVA) ผลการวิจัย พบว่า ๑) การบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูตามการรับรู้ของอาจารย์นิเทศก์ มีคะแนน มากกว่าเกณฑ์ ส่วนการรับรู้ของครูพี่เลี้ยง มีคะแนนน้อยกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๒) แนวทางการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ตาม ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตครู พบว่าควรจัดการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐาน เน้นฝึกวิเคราะห์ ควรบ่มเพาะความเป็นครูตั้งแต่ปี ๑ สถานฝึกประสบการณ์วิชาชีพต้องมีความพร้อม อาจารย์นิเทศก์มีทักษะ การจัดการเรียนรู้และวิจัย ครูพี่เลี้ยงเป็นแบบอย่างที่ดี ๓) รูปแบบการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ ๔ ขั้นตอน ได้แก่ วางแผน ปฏิบัติ ตรวจสอบ และปรับปรุง องค์ประกอบคุณภาพครูยุคใหม่มี ๓ ด้าน คือ ความรู้ การจัดการเรียนรู้ และคุณลักษณะความเป็นครู ผลการประเมินรูปแบบมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.42.2.8
First Page
104
Last Page
116
Recommended Citation
จารุอริยานนท์, วิลาวัณย์
(2014)
"รูปแบบการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่,"
Journal of Education Studies: Vol. 42:
Iss.
2, Article 8.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.42.2.8
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol42/iss2/8