Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิควิธีการศึกษาแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การศึกษาเอกสาร การสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มนักการเมืองและกลุ่มประชาชน การสัมภาษณ์เจาะ ลึกนักการเมืองและนักวิชาการ การวิจัยและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ และการสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) วิเคราะห์คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักการเมือง ๒) เพื่อพัฒนา กระบวนการจัดการเรียนรู้บนฐานทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ๓) เพื่อนำเสนอกระบวนการ จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะของนักการเมืองบนฐานทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ผลการวิจัยพบว่า ๑) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักการเมืองแบ่งออกเป็น ๔ ด้าน คือ ด้าน จิตใจ ด้านความคิด ด้านพฤติกรรมและด้านความรู้ ๒) การวิจัยและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ต้อง พัฒนาการเรียนรู้ ๔ ส่วน คือ การกระต้นุ การเรียนรู้ภายใน การเรียนร้เู ชิงกระบวนการกล่มุ การตระหนักถึง สังคมและส่วนรวม และการสร้างสรรค์แนวทางใหม่ ๓) กระบวนการจัดการเรียนร้เู พื่อพัฒนาคุณลักษณะ ของนักการเมืองประกอบด้วยการดำเนินการ ๗ ขั้นตอน คือ (๑) การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ที่สัมพันธ์ กับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักการเมือง (๒) เนื้อหากิจกรรมต้องสอดคล้องกับเป้าหมาย (๓) การ ออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้เกิดประสบการณ์ใหม่ ใคร่ครวญ และแลกเปลี่ยนเชิงการเมือง (๔) การคัดเลือกกระบวนกร ที่มีประสบการณ์ทางการเมืองและการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (๕) การลงมือปฏิบัติต้องต่อเนื่องและยืดหยุ่น (๖) การสร้างบรรยากาศให้เท่าเทียมและเป็นประชาธิปไตย (๗) การสรุปและถอดบทเรียน เน้นการแลกเปลี่ยนและการรับฟังอย่างลึกซึ้ง
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.42.2.4
First Page
45
Last Page
56
Recommended Citation
ยอดเณร, ปอรรัชม์ and รักษ์พลเมือง, ชนิตา
(2014)
"กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะของนักการเมืองบนฐานทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง,"
Journal of Education Studies: Vol. 42:
Iss.
2, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.42.2.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol42/iss2/4