Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประสิทธิภาพการประมาณค่าพารามิเตอร์ผู้สอบสำหรับโมเดลการตอบสนองข้อสอบ ๑ พารามิเตอร์ด้วยข้อมูลจำลอง และศึกษาความสอดคล้องกลมกลืนระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ระหว่างการประมาณค่าด้วยโมเดลประมาณค่าพารามิเตอร์แบบอิทธิพล เจาะจงข้อสอบกับแบบอิทธิพลสุ่มข้อสอบ ๓ รูปแบบ คือ สุ่มผู้สอบ-เจาะจงข้อสอบ (RPFI), เจาะจงผู้สอบ-สุ่มข้อสอบ (FPRI) และสุ่มผู้สอบ-สุ่มข้อสอบ (RPRI) ข้อมูลจำลองจากโปรแกรม R และประมวลผลด้วยโปรแกรม WinBUGS ด้วยการเชื่อมโยงผ่านคำสั่ง R2WinBUGS package การจำลองข้อมูล ทั้งหมด ๔๘ เงื่อนไข (๔x๓x๔) ประกอบด้วย ลักษณะการแจกแจงก่อนหน้าของความยากข้อสอบ ๔ แบบ ความยาวของแบบทดสอบ ๓ ระดับ และจำนวนผู้สอบ ๔ ขนาดประสิทธิภาพของการประมาณค่า พารามิเตอร์ผู้สอบด้วยข้อมูลจำลองพิจารณาจากความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ และค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสอง และความสอดคล้องกลมกลืนระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์จากผลการสอบ O-Net วิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และภาษาไทย ปีการศึกษา ๒๕๕๓ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๖ พิจารณาจากค่าสถิติ Akaike Criterion (AIC) ผลการวิจัยพบว่า ๑)โมเดลการประมาณค่าพารามิเตอร์ผู้สอบรูปแบบ FPRI มีประสิทธิภาพใน การประมาณค่าสูงทื่สุด รองลงมาคือ RPFI และ RPRI ตามลำดับ ๒)โมเดลการประมาณค่าพารามิเตอร์ ผู้สอบรูปแบบ FPRI มีค่า AIC ตํ่าที่สุดทั้ง ๓ รายวิชาและในกลุ่มตัวอย่างทุกขนาดรองลงมาคือ RPFI และ RPRI ตามลำดับ
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.42.1.3
First Page
35
Last Page
49
Recommended Citation
ปัญจมะวัต, ทิพวัลย์; กาญจนวาสี, ศิริชัย; and ขัมภลิขิต, ชูศักดิ์
(2014)
"ประสิทธิภาพของการประมาณค่าพารามิเตอร์แบบสุ่มข้อสอบสำหรับโมเดลการตอบสนองข้อสอบ ๑ พารามิเตอร์,"
Journal of Education Studies: Vol. 42:
Iss.
1, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.42.1.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol42/iss1/3