Abstract
การวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกเรียนโปรแกรมในสัปดาห์แสนสนุกสุขหรรษากับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๔๗ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการคือ ๑) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกเรียนโปรแกรมที่นักเรียนเลือกกับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนในรายวิชานั้น ๒) ศึกษาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชา ระหว่าง นักเรียนที่มีโปรแกรมการเลือกเรียนแตกต่างกัน ผลการวิจัยพบว่า ๑) ความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกเรียนโปรแกรมกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาที่ เกี่ยวข้องกับโปรแกรมการเลือกของนักเรียน ตลอดการเลือกทั้ง ๓ ครั้งพบว่า มีเพียง ๑ โปรแกรมที่มี ความสัมพันธ์ระหว่างโปรแกรมการเลือกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคือ โปรแกรมภาษาไทยกับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาภาษาไทยในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ พบค่าความสัมพันธ์ที่ระดับนัยสําคัญ.๐๕ ๒) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในแต่ละรายวิชาพบว่า ในระดับชั้นประถม ศึกษาปีที่ ๑ นักเรียนที่เลือกเรียนตามโปรแกรมต่างๆ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนรายวิชาสูงทุกวิชา ๓) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ภาคต้นและภาคปลาย คะแนนเฉลี่ยรายวิชาของนักเรียน สูงขึ้นทุกวิชาเมื่อนําไปเปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ๔ กลุ่มวิชากับโปรแกรมที่นักเรียนเลือกในแต่ละครั้งเป็นดังนี้ ๑) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง ๔ กลุ่มรายวิชาของ นักเรียนทุกโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยสูง โดยเฉพาะวิชาดนตรีและการงานอาชีพ มีคะแนนเฉลี่ย ๓.๙๕๔ และ ๓.๙๔๒ ตามลำดับ ๒) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ การวัดครั้งที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๑ คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง ๔ กลุ่มรายวิชาของนักเรียนทุกโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยสูง โดยเฉพาะวิชาดนตรีและการงานอาชีพ มีคะแนนเฉลี่ย ๓.๙๔๐ และ ๓.๙๗๓ ตามลำดับ ๓) การวัดครั้งที่ ๒ ของระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ภาคเรียนที่ ๒ คะแนนผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนทั้ง ๔ กลุ่มรายวิชาของนักเรียนทุกโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยสูง โดยเฉพาะวิชาดนตรีและการงาน อาชีพ มีคะแนนเฉลี่ย ๓.๙๘๙ และ ๓.๙๗๔ ตามลำดับ
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.35.4.9
First Page
105
Last Page
116
Recommended Citation
สุขวัฒนาสินิทธิ์, นวรัตน์; เนตรน้อย, ศรียา; and โรจนวิภาต, อนุทัย
(2007)
"ความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกเรียนโปรแกรมในสัปดาห์แสนสนุกสุขหรรษา กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๔๗,"
Journal of Education Studies: Vol. 35:
Iss.
4, Article 9.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.35.4.9
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol35/iss4/9