Abstract
คณิตศาสตร์มีบทบาทสําคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทําให้มนุษย์มีความคิด สร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ ระเบียบ สามารถวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ต่างๆ ได้ อย่างรอบคอบ คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตและช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ในสภาพการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า มีสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้กับนักเรียนเท่าใด นัก เนื่องจากปัจจัยหลากหลายประการทำให้นักเรียนไม่กล้าที่จะซักถาม หรือตอบคําถามที่ครูถาม เมื่อ นักเรียนไม่เข้าใจเนื้อหาในบทเรียนนี้ก็ทำให้นักเรียนขาดความตั้งใจเรียนในเรื่องต่อๆ ไป ดังนั้นครูควร จะมีวิธีการสอนที่จะช่วยให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในกิจกรรม การเรียนการสอนมากยิ่งขึ้นเพื่อที่จะทำให้นักเรียนรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของชั้นเรียน การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative learning) เป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดการเรียนการสอน ที่สามารถตอบสนองความต้องการที่ทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและฝึกการทำงาน ร่วมกับผู้อื่น โดยมากมักใช้เทคนิคการสอนเป็นกลุ่มเพื่อนที่ช่วยเหลือเพื่อนเป็นรายบุคคล (Team Assisted Individualization หรือ TAI) ปรับใช้ตามวิธีการของสลาวิน (Slavin, 1995) พัฒนาขึ้นให้มี ความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษาโดยเฉพาะ ลักษณะที่สำคัญคือ การจัดนักเรียนเป็นกลุ่มกลุ่มละ ๔-๕ คน สมาชิกในกลุ่มต้องมีระดับความสามารถที่แตกต่างกัน หากพบ ปัญหานักเรียนจะช่วยเหลือกัน ประกอบด้วย ๑) การนำเข้าสู่บทเรียน ๒) ขั้นสอน ๓) ขั้นฝึกทักษะ ๔) ขั้นทดสอบ และ ๕) ขั้นประเมินผล การเรียนแบบร่วมมือเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ช่วยให้นักเรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ได้รับประสบการณ์ที่สัมพันธ์กับชีวิตจริง ช่วยส่งเสริมทักษะทางสังคม ฝึกการช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน ฝึกการทำงานกลุ่มและมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ทําให้นักเรียนเกิดการยอมรับตนเองอันจะส่งผลให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งต่างๆ รอบข้าง และยังช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเฉลี่ยของ นักเรียนสูงขึ้น
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.35.4.2
First Page
20
Last Page
34
Recommended Citation
อสัมภินพงศ์, พิมพ์พร
(2007)
"การเรียนแบบร่วมมือ รูปแบบการจัดการเรียน การสอนวิชาคณิตศาสตร์,"
Journal of Education Studies: Vol. 35:
Iss.
4, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.35.4.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol35/iss4/2