Abstract
บทความนี้นำเสนอการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครูในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ซึ่งเป็นแหล่งฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครูสำหรับนิสิตชั้นปีที่ ๔ ของคณะครุศาสตร์ โดยนิสิตฝึกสอน จะได้รับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเสมือนเป็นอาจารย์ประจําเพื่อให้นิสิตได้รับประสบการณ์เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครูในอนาคตอย่างแท้จริง โดยมีอาจารย์ประจำของโรงเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ทำหน้าที่เป็นอาจารย์นิเทศก์ ให้คำปรึกษานิสิตในการฝึกประสบการณ์ของวิชาชีพครู ได้แก่ ๑) การจัด การเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ตามสาขาวิชาเอกของนิสิต เพื่อพัฒนานิสิตให้จัด กระบวนการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพตามกระบวนการวงจรคุณภาพ (PDCA) คือ วางแผนการจัดกระบวนการเรียนการสอน (Plan) จัดกระบวนการเรียนการสอน (Do) ประเมินผล การจัดการเรียนการสอน (Check) และปรับปรุงหลังจากประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน (Act) ๒) การฝึกบทบาทอาจารย์ประจําชั้น ซึ่งโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม กําหนดให้ เป็นบทบาทสำคัญที่นิสิตจะต้องฝึกการเป็นอาจารย์ประจำชั้น โดยมีอาจารย์นิเทศก์ ซึ่งเป็นอาจารย์ ประจําชั้นของห้องเรียนนั้นเป็นผู้ให้คำปรึกษา เพื่อให้นิสิตทำหน้าที่ความเป็นครูอย่างแท้จริง เช่น การ ดูแลนักเรียนเข้าแถวเคารพธงชาติ สวดมนต์ และร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี (ทุกวันศุกร์) นอกจากนี้ ในแต่ละวัน ช่วง ๔.๐๐-๔.๓๐ น. เป็นช่วงเวลาของกิจกรรมโฮมรูม เพื่อสร้างความคุ้นเคยระหว่างอาจารย์ประจำชั้นกับนักเรียน และจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้เกิดขึ้นในตัว นักเรียน หรือที่เรียกว่า M L C R M = Morality หรือคุณธรรม L = Leadership หรือภาวะผู้นํา C = Critical Thinking and Creative Thinking หรือการคิดอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์ R - Responsibility หรือความรับผิดชอบ ๓) การร่วมกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน นิสิตจะได้เรียนรู้การให้ คำปรึกษา การกำกับดูแลนักเรียน และสังเกตพฤติกรรม/ทักษะต่างๆ ของนักเรียนผ่านกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น กิจกรรมวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียน กิจกรรมวันสำคัญ ทางศาสนา กิจกรรมของกลุ่มสาระการเรียนรู้ ต่างๆ เช่น วันภาษาไทยแห่งชาติ สัปดาห์วิทยาศาสตร์ แห่งชาติ ดังนั้น โดยสรุปแล้วการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครูในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนานิสิตให้ “แข็งแกร่งทางวิชาการ เป็นอาจารย์ที่ดีมีคุณภาพควบคู่คุณธรรม” เพื่อพัฒนาสู่การเป็น “ครูมืออาชีพ” ตามแนวนโยบายการผลิตบัณฑิตของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ที่มีคุณภาพ สมดังคํากล่าวที่ว่า “ครูสร้างคน คนสร้างชาติ ครุศาสตร์สร้างครู”
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.35.3.2
First Page
13
Last Page
22
Recommended Citation
สวนไพรินทร์, เสริมศรี
(2007)
"ปฏิบัติการวิชาชีพครู : ก้าวแรกของความเป็นครู,"
Journal of Education Studies: Vol. 35:
Iss.
3, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.35.3.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol35/iss3/2