•  
  •  
 

Abstract

การวิจัยเชิงประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและประเมินโครงการจัดหาครูชาว ต่างประเทศเพื่อสอนภาษาอังกฤษสำหรับสถานศึกษาในจังหวัดนนทบุรี โดยทําการเก็บรวบรวมข้อมูล กับผู้บริหาร ครู นักเรียน และครูชาวต่างประเทศในโรงเรียนที่อยู่ในโครงการ จำนวน ๕๗ โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบปากเปล่า แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และ นักเรียน แบบสอบถามครูชาวต่างประเทศ แบบสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการผู้บริหาร ครู และนักเรียน รายงานการตรวจเยี่ยม และประเด็นในการทําสนทนากลุ่ม (focus group) ครูชาวต่างประเทศ วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยค่าสถิติบรรยาย ประมาณค่าคะแนนพัฒนาการด้วยสูตรคะแนนพัฒนาการแบบเทียบร้อย ส่วนการเปรียบเทียบคะแนนพัฒนาการใช้สถิติทดสอบ t-test และ 1- way ANOVA การวิเคราะห์ ส่วนประกอบความแปรปรวนของคะแนนพัฒนาการ ใช้การวิเคราะห์พหุระดับ ๓ ระดับ ด้วยโปรแกรม HLM การเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างกลุ่มของนักเรียน ครู และผู้บริหารใช้สถิติทดสอบ t-test 1- way ANOVA ไค-สแควร์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ๑. ผู้บริหารต้องการเน้นความสามารถในการนําภาษาอังกฤษไปใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด โดย มีนโยบายให้ครูไทยสังเกตการสอนและได้มอบหมายให้ฝ่ายวิชาการและหัวหน้ากลุ่มสาระภาษาต่างประเทศดำเนินการติดตามนิเทศการสอน โดยการบริหารโครงการไม่มีความแตกต่างกันระหว่างโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน ระหว่างโรงเรียนที่ต่างประเภทกัน และระหว่างโรงเรียนที่เคย/ไม่เคยมีครู ชาวต่างประเทศ ๒. ครูประสานงานโดยจัดหาแบบเรียนภาษาอังกฤษให้แก่ครูชาวต่างประเทศมากที่สุด และติด ตามผลการสอนโดยสอบถามนักเรียน ซึ่งวิธีการประสานงานนั้นไม่มีความแตกต่างกันระหว่างโรงเรียนที่ มีขนาดต่างกัน และระหว่างโรงเรียนที่เคยไม่เคยมีครูชาวต่างประเทศ แต่แตกต่างกันระหว่างประเภท ของโรงเรียน ๓. จากความคิดเห็นของครู พบว่าครูชาวต่างประเทศมีปัญหามากที่สุดในด้านสำเนียงที่ใช้ รองลงมาได้แก่ ความตรงต่อเวลา การปฏิบัติหน้าที่ในการสอน และความร่วมมือกับโรงเรียนในด้าน ต่าง ๆ ๔. ผลการประเมินคุณภาพการปฏิบัติงานของครูชาวต่างประเทศอยู่ในระดับดี โดยครูเห็นว่า คุณภาพการปฏิบัติของครูชาวต่างประเทศทั้งด้านความสามารถในการสอน ด้านการปฏิบัติ และด้าน คุณลักษณะของความเป็นครูอยู่ในระดับดี ส่วนนักเรียนเห็นว่าคุณภาพของครูชาวต่างประเทศด้านการ จัดกิจกรรมการเรียนการสอน อยู่ในระดับดี ส่วนด้านบุคลิกภาพของครูอยู่ในระดับดีมาก ๕. การประเมินผลของโครงการที่มีต่อนักเรียน ครูไทย และโรงเรียน พบว่าโครงการฯนี้มีผลต่อ นักเรียน ครู และโรงเรียนอยู่ในระดับดี จากความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับผลของโครงการฯ พบว่าทั้งผู้บริหารและครูเห็นด้วยในระดับมากว่าโครงการฯมีผลต่อนักเรียนและครู และผู้บริหารเห็น ด้วยในระดับมากที่สุดว่าโครงการฯ มีผลต่อโรงเรียน ๖. นักเรียนมีพัฒนาการด้านทักษะการฟัง ทักษะการพูด และทักษะการสื่อสารอยู่ในระดับดี และคะแนนพัฒนาการด้านทักษะการฟังและด้านทักษะการสื่อสาร มีความแตกต่างกันระหว่างระดับชั้น โดยคะแนนพัฒนาการของนักเรียนในระดับชั้น ป.๓-ป.๖ และระดับชั้นม.๑-ม.๓ มีคะแนนพัฒนาการ มากกว่าระดับชั้น ม.๔-ม.๖ สำหรับในด้านทักษะการสื่อสารพบว่าระดับชั้นม.๑-ม.๓ มีคะแนน พัฒนาการมากกว่าระดับชั้นม.๔-ม.๖ ส่วนพัฒนาการด้านทักษะการพูดไม่มีความแตกต่างกันระหว่าง ระดับชั้น ๗. ผู้บริหารและครูเห็นว่าปัญหาของโครงการ ได้แก่ปัญหาที่เกี่ยวกับสำเนียงการออกเสียงของ ครูต่างชาติที่ยังไม่ถูกต้องตามเจ้าของภาษา ส่วนในด้านข้อดี พบว่าส่วนใหญ่เห็นว่านักเรียนและครูได้รับ ประสบการณ์ตรงในการสื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษ และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการ ได้แก่ ควรจ้าง ครูชาวต่างประเทศที่เป็นเจ้าของภาษา เพื่อเป็นการวางพื้นฐานให้กับนักเรียน ๘. ครูชาวต่างประเทศเสนอแนะให้มีการจัดกิจกรรมค่าย สัมมนา การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อ พัฒนาทักษะด้านวิธีสอน และการควบคุมชั้น รวมทั้งเสนอแนะให้มีการจ่ายเงินเดือนผ่านบัญชีธนาคาร

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.35.3.11

First Page

139

Last Page

159

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.