Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาและวิธีการในการแก้ไข พฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กวัย ๓ - ๕ ปี ของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วประเทศ จํานวน ๔,๑๔๗ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็ก และการ แก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของผู้ดูแลเด็ก ผลการวิจัยพบว่า ๑. พฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กที่พบในห้องเรียนแยกตามกลุ่มพฤติกรรม ๖ กลุ่ม ส่วนใหญ่ พบว่า กลุ่มที่ ๑ ก้าวร้าว (ร้อยละ ๒๔.๓๑) กลุ่มที่ ๒ ส่งเสียงดัง (ร้อยละ ๕๖.๔๖) กลุ่มที่ ๓ ปาของ (ร้อยละ ๒๗.๗๒) กลุ่มที่ ๔ ติดขวดนม (ร้อยละ ๒๐.๒๒) กลุ่มที่ ๕ ไม่นอนกลางวัน (ร้อยละ ๓๕.๕๗) และกลุ่มที่ ๖ ไม่รับประทานอาหารกลางวัน (ร้อยละ ๓๑.๔๓) ๒. วิธีการในการแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของผู้ดูแลเด็กแยกตามกลุ่มพฤติกรรม ๖ กลุ่ม ส่วน ใหญ่พบว่า กลุ่มที่ ๑ ทำข้อตกลงระหว่างกัน ให้กำลังใจเด็กในการปฏิบัติ และชื่นชมเมื่อเด็กปฏิบัติดี (ร้อยละ ๒๗.๒๗) กลุ่มที่ ๒ พยายามพูดกับเด็กเบา ๆ (ร้อยละ ๕๓.๗๔) กลุ่มที่ ๓ ไม่มีข้อเสนอแนะสําหรับการ แก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหา กลุ่มที่ ๔ ให้เด็กฝากขวดนมไว้ที่ครูแล้วให้มาเอาตอนเย็น (ร้อยละ ๑๖.๙๔) กลุ่มที่ ๕ ให้ดูเพื่อนที่หลับ แล้วพยายามกล่อมให้เด็กนอน (ร้อยละ ๓๑.๔๐) และกลุ่มที่ ๖ บอกเด็กว่า ถ้าไม่กินข้าว จะไม่โตและไม่มีแรง เมื่อเด็กกินก็ชมเชย (ร้อยละ ๒๓.๕๑) สําหรับวิธีการในการแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของผู้ดูแลเด็ก แยกตามพฤติกรรมย่อยในกลุ่ม พฤติกรรม ๖ กลุ่ม พบว่า วิธีการในการแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของผู้ดูแลเด็กส่วนใหญ่ที่ใช้ในแต่ละ พฤติกรรมย่อย คือ การทําข้อตกลง ให้กำลังใจและชื่นชมเมื่อเด็กปฏิบัติ เล่านิทานที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ ตักเตือนโดยใช้เหตุผลประกอบ แยกเด็กออกจากคู่กรณีถ้ามีปัญหาระหว่างกัน และให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรม การช่วยเหลือ เด็กแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กในการทำความรู้จัก ข้อมูลจากผลการวิจัยน่าจะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กช่วยกันดูแลเด็กให้ เมื่อมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาเกิดขึ้นศึกษาสาเหตุที่ชัดเจนและวางแผนในการแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหาให้ตรงประเด็นตามสาเหตุที่แท้จริง โดยมีฐานความรู้สึกที่เข้าใจได้ว่าความต้องการของเด็ก คือ ต้องการความรัก ความพอใจ ความยกย่อง ความซาบซึ้ง ความห่วงใยและการดูแล เอาใจใส่ ติดตามด้วยการสอนที่มีการเตรียมการอย่างดี
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.35.2.3
First Page
30
Last Page
45
Recommended Citation
พูลพัฒน์, จีระพันธุ์
(2006)
"การแก้ไขพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กวัย ๓ - ๕ ปี ของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,"
Journal of Education Studies: Vol. 35:
Iss.
2, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.35.2.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol35/iss2/3