•  
  •  
 

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา กระบวนการและผลของการพัฒนาหลักสูตร รวมทั้งปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนา หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนนำร่องจำนวน ๖ โรง โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพในลักษณะ การวิจัยพหุกรณีศึกษาหลายพื้นที่ (Multisite studies) ผู้วิจัยใช้ระยะเวลาอยู่ในสนามนาน ๔ เดือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม สัมภาษณ์แบบไม่เป็น ทางการและแบบเจาะลึก และการวิเคราะห์ เอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์แบบ อุปนัย จำแนกชนิดของข้อมูล และเปรียบเทียบ ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลเชิง คุณภาพ ATLAS.ti และนำเสนอข้อมูลโดยการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑. กระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษามี ๓ ขั้นตอน คือ ๑) การเตรียมความพร้อม ๒) การจัดทําสาระหลักสูตร และ ๓) การนำหลักสูตรไปใช้ จากการศึกษา พบว่า โรงเรียน นำร่องทุกโรงมีกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถาน ศึกษาทั้ง ๓ ขั้นตอนคล้ายคลึงกันในภาพรวม แต่ มีความแตกต่างกันในตัวแปรพื้นที่และขนาด เมื่อพิจารณาในแต่ละขั้นตอน พบว่า โรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ต่างกันมีการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น ต่างกัน และโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีกิจกรรม ในการพัฒนาหลักสูตรในแต่ละขั้นตอนที่แตก ต่างกันซึ่งได้แก่ ขั้นตอนที่ ในกิจกรรมการ พัฒนาบุคลากร ขั้นตอนที่ ๒ กิจกรรมการขยาย ผลการจัดทําหลักสูตร และขั้นตอนที่ ๓ การบูรณา การการเรียนรู้ การจัดสื่อการเรียนรู้ และการนิเทศ กำกับ ติดตาม ๒. ผลของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาส่งผลต่อผู้เรียน และผู้สอน ดังนี้ ด้านผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนทุก โรงเรียนมีทักษะกระบวนการ ได้แก่ มีการทํางาน เป็นทีม มีการค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ได้แก่ ผู้เรียนมี ความสุขในการเรียนและกล้าแสดงออกมากขึ้น ส่วนด้านครูผู้สอน พบว่า ครูทุกโรงเรียนมีความรู้ ในการพัฒนาหลักสูตร มีพฤติกรรมการทำงาน และมีการพัฒนาตนเองดีขึ้น เมื่อพิจารณาตาม ขนาด พบว่า การพัฒนาหลักสูตรในโรงเรียนที่มี ขนาดต่างกันทําให้ผู้เรียนมีการใช้อินเตอร์เน็ต เป็นเครื่องมือในการสืบค้น มีทักษะอาชีพและมี การใฝ่เรียนใฝ่รู้ที่แตกต่างกัน แต่ตัวแปรด้าน ขนาดไม่ส่งผลต่อครูผู้สอน และเมื่อพิจารณาตามพื้นที่ พบว่า ตัวแปรพื้นที่ไม่ส่งผลให้เกิด ความแตกต่างทั้งต่อผู้เรียนและผู้สอน ๓. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการ พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา มี 5 ปัจจัย ได้แก่ พฤติกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมของผู้เรียน การ มีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน รูปแบบการ บริหารงานที่เหมาะสม การมีส่วนร่วมในการ สนับสนุนให้กำลังใจจากหน่วยงานต้นสังกัด งบประมาณที่เพียงพอ และความเพียงพอของอัตรา นำร่องเป็นโรงเรียนที่ได้ดำเนินการพัฒนา กำลังครู

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.34.3.7

First Page

62

Last Page

72

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.