Abstract
การพัฒนาประเทศสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ ซึ่งต้องเป็นสังคมที่ประชาชนมี ความรู้และศักยภาพในการแสวงหาความรู้และสร้างผลผลิตสําหรับการดำรงชีวิตและการ ประกอบอาชีพ จำเป็นต้องมีสมรรถนะพื้นฐาน ได้แก่ สามารถเรียนรู้ สร้างความรู้ ใช้ความรู้ และผลิตผลงานคุณภาพสําหรับแข่งขันได้ จึงมีความจำเป็นในการเปลี่ยนผ่านการบริหาร จัดการศึกษา ที่จะต้องมีรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ ซึ่งต้องอาศัย กระบวนทัศน์ทางการศึกษาใหม่ๆ การวิจัยนี้ ได้แบ่งการดําเนินการวิจัยเป็น ๓ ระยะ ได้แก่ ระยะที่ ๑ เป็นการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาหลักการ และรูปแบบทั่วไปของระบบบริหารจัดการ ศึกษาแบบบูรณาการกับเขตพื้นที่ และสถานศึกษาแกนนํา ผลการวิจัยทําให้ได้ระบบการ บริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการสําหรับเขตพื้นที่และสถานศึกษา ประกอบด้วย ๔ องค์ ประกอบหลัก ได้แก่ ๑. วาดภาพความสําเร็จ ๒. กําหนดโครงสร้าง ๓. บริหารจัดการ ซึ่ง ต้องมีการบูรณาการโดยใช้ MSPA อันประกอบด้วย การระดมทรัพยากรที่หลากหลาย (M) การวางแผนกลยุทธ์ (S) การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง (P) และมีความเป็นอิสระคล่องตัว ในการบริหารจัดการ (A) เป็นตัวขับเคลื่อน และ ๔. ติดตามกํากับ การดำเนินการวิจัยระยะที่ ๒ เป็นการสนับสนุนการพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา สำหรับเขตพื้นที่และสถาน ศึกษาแกนนำ และเครือข่ายใน ๕ ภูมิภาค โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง โดย เฉพาะเครือข่ายทั้งในระดับสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และสถาบันอุดมศึกษาในท้องถิ่น สำหรับระยะที่ ๓ เป็นการนำรูปแบบบริหารจัดการศึกษาไปทดลองใช้ และสรุปรูปแบบการ บริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ ผลการวิจัยทำให้ได้คู่มือการบริหารจัดการศึกษาสำหรับ เขตพื้นที่และสถานศึกษา และผลจากการนำไปทดลองใช้ของ ๑๐ เขตพื้นที่การศึกษา และ ๔๓ สถานศึกษา ตลอดจนการเรียนรู้ประสบการณ์ของการบริหารจัดการศึกษาร่วมกัน
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.34.2.8
First Page
76
Last Page
90
Recommended Citation
กาญจนวาสี, ศิริชัย
(2005)
"รูปแบบของระบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ สำหรับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา สำหรับสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้,"
Journal of Education Studies: Vol. 34:
Iss.
2, Article 8.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.34.2.8
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol34/iss2/8