Abstract
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาเกณฑ์และดําเนินการประเมินโครงการ และ ติดตามบัณฑิตที่สําเร็จการศึกษาไป ๒) ประเมินผลความสำเร็จการดำเนินงานของโครงการตาม วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และ ๓) ศึกษาวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาด้านศิลปะ และแนวทาง การดำเนินงานของโครงการในอนาคต กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ๑) นิสิตปัจจุบัน จํานวน ๔๗ คน ๒) ศิลปินบัณฑิต จำนวน ๓๑ คน ๓) ผู้บริหาร/อดีตผู้บริหารและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๑๑ คน และ ๔) อาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้สอนนิสิตในโครงการ จำนวน ๑๔ คน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้ ๑. ผลวิเคราะห์การศึกษาเกณฑ์และการประเมินในด้านต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑) ระดับ ผลการเรียนของนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือก โดยภาพรวมแล้วส่วนใหญ่ (ร้อยละ ๔๒) อยู่ในระดับ ปานกลางถึงดีมาก ๑.๒) ระดับผลการเรียนของนิสิตในโครงการ ผลการเรียนต่ำสุดอยู่ในช่วง ๒.๐๓-๒.๔๑ สูงสุดอยู่ในช่วง ๒.๗๔-๓.๙๙ ค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง ๒.๔๔-๓.๒๓ ๑.๓) ตําแหน่งหน้าที่การงาน และความรับผิดชอบของศิลปินบัณฑิต (งานประจำ, งานพิเศษ) ส่วนใหญ่มีหน้าที่การงานที่เกี่ยวข้องกับ การใช้ความรู้ความสามารถทางด้านศิลปะทั้งงานประจำและงานพิเศษ ๒. ผลวิเคราะห์การประเมินผลความสําเร็จการในดําเนินงานของโครงการตามวัตถุประสงค์ ๒.๑) จํานวนผู้ที่ได้รับคัดเลือกทั้งหมดในแต่ละปีการศึกษา นิสิตในโครงการรวมทั้งสิ้น ๒๓๕ คน เป็น นิสิตคณะครุศาสตร์ ๕๗ คน และนิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ ๑๗๔ คน ๒.๒) สัดส่วนของจํานวน ผู้สมัครต่อจำนวนผู้ที่ได้รับคัดเลือกในแต่ละปีการศึกษา โดยภาพรวม สัดส่วนของจำนวนผู้สมัครและ จำนวนที่รับในแต่ละปีการศึกษาอยู่ในช่วง ๑ : ๑ ถึง ๑ : ๑๓ ๒.๓) การสนับสนุนการจัดกิจกรรม/นิทรรศการ เพื่อเผยแพร่ผลงานนิสิตในโครงการของมหาวิทยาลัย ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่ายังไม่ชัดเจน มาก ส่วนผู้บริหารโครงการและคณะกรรมการบริหารโครงการ มีความคิดเห็นว่าขึ้นอยู่กับนโยบายการ บริหารของหัวหน้าโครงการแต่ละท่าน และการเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณว่ามีความ ชัดเจนและมีประโยชน์เพียงใด ๒.๔) ความพึงพอใจต่อหลักสูตรการเรียนการสอน นิสิตส่วนใหญ่ (ร้อยละ ๖๗.๔) มีความคิดเห็นว่าเหมาะสม ๒.๕) นโยบายการให้ความสําคัญและการสนับสนุนของ มหาวิทยาลัยในด้านศิลปะ ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีความคิดเห็นตรงกันว่า มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับ การศึกษาด้านศิลปะ จึงได้ดำเนินนโยบายให้มีโครงการนี้ แต่มีผู้ให้ข้อมูลบางท่านแสดงความคิดเห็น เพิ่มเติมว่ามหาวิทยาลัยยังไม่มีความชัดเจนเรื่องนโยบายในการดําเนินงานเพียงพอ ๓. ผลวิเคราะห์การศึกษาวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาด้านศิลปะและแนวทางการ ดำเนินงานโครงการรับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษระดับชาติทางศิลปะในอนาคต ๓.๑) ผู้ให้ข้อมูล ส่วนใหญ่เห็นสอดคล้องกันว่า เป็นหน้าที่ของทางมหาวิทยาลัยที่จะต้องวางนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนา ด้านศิลปะในอนาคตให้ชัดเจนกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน และกำหนดแนวทางในการดำเนินงานแก่ผู้ที่มีส่วน เกี่ยวข้องกับโครงการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อมหาวิทยาลัยสามารถแสดงบทบาทในการให้การ ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาด้านศิลปะได้อย่างเต็มที่ ๓.๒) ผู้ให้ข้อมูลในเรื่องแนวทางในการดำเนินงาน ของโครงการในอนาคต มีความคิดเห็นว่า ๑) ควรเพิ่มจํานวนรับนิสิตในโครงการให้มากขึ้น ๒) ส่งเสริม ให้นิสิตได้แสดงผลงาน ๓) จัดหาทุนให้แก่นิสิตที่ขัดสนหรือต้องการศึกษาต่อ ๔) มีการประเมินความ สำเร็จโครงการอย่างต่อเนื่อง
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.34.1.9
First Page
103
Last Page
114
Recommended Citation
สุทธจิตต์, ณรุทธ์; ธงภักดี, อานุภาพ; ทาวะรมย์, แคทลียา; and จิว, นิลวรรณ
(2005)
"การประเมินโครงการรับนักเรียน ผู้มีความสามารถพิเศษระดับชาติทางศิลปะ เข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,"
Journal of Education Studies: Vol. 34:
Iss.
1, Article 9.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.34.1.9
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol34/iss1/9