•  
  •  
 

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัยมีสองประการ คือ การศึกษาเนื้อหาดนตรีและวิธีการในการสืบทอด ของเพลงพื้นบ้านท่าโพ อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี วิธีดำเนินการวิจัยใช้การศึกษาแบบกรณี ศึกษา โดยการบันทึกการร้องเล่นเพลงจากพ่อเพลงแม่เพลงเพื่อนำมาวิเคราะห์เนื้อหาดนตรี และ การสัมภาษณ์พ่อเพลงแม่เพลง ชาวบ้าน และ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการสืบทอดเพื่อนํามาวิเคราะห์และ นําเสนอผลในเรื่องแนวทางการสืบทอดเพลงพื้นบ้านท่าโพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวิเคราะห์เพลงสร้างขึ้นโดยอิงหลักการของโคดาย และ แบบสัมภาษณ์กลุ่มบุคคลต่าง ๆ ๒ ชุด สร้างขึ้นโดยคํานึงถึงแนวคิดและรูปแบบการสืบทอด การเก็บข้อมูล กระทำโดยเดินทางไปยังบ้านท่าโพและตัวจังหวัด ๒ ครั้ง เพื่อบันทึกเพลงและสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอในเชิงบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า เพลงพื้นบ้านท่าโพ จำนวน ๕๕ เพลง ที่ทำการศึกษา มีลักษณะทั่วไปเป็นไป ตามลักษณะของเพลงไทย กล่าวคือ เพลงจำนวน ๓๘ เพลง อยู่ในบันไดเสียง เพนทาโทนิก โดยมีโทนิก เป็น โด ลา มี เร และ ซอล มากน้อยตามลำดับ บันไดเสียงอื่น ๆ ที่พบ ได้แก่ เฮกซะคอร์ด เตตราโทนิก เฮกซะคอร์ด และ มิกโซลิเดียน การจัดเรียงของเสียงของเพลงเป็นลักษณะเพลเกิล ๒๗ เพลง ออเธนติก ๒๗ เพลง และแบบผสม ๑ เพลง เพลงทั้งหมดมีอัตราจังหวะประเภทสองจังหวะ ช่วงกว้างของเสียงที่ ใช้อยู่ระหว่าง คู่แปด และ คู่เจ็ด เพลงที่มีช่วงเสียงกว้างมากที่สุดคือคู่สิบเอ็ด ขั้นคู่เสียงที่พบเสมอ คือ คู่สอง และ คู่สาม เมเจอร์ เคเดนซ์ตอนจบเป็น คู่สองเมเจอร์ และ คู่สามไมเนอร์ มากที่สุด รูปแบบ ทํานองที่พบบ่อยคือรูปแบบ ไบนารี (AB) ๓๗ เพลงขึ้นต้นแบบ อนาครูซิส อีก ๑๘ เพลงขึ้นต้นที่จังหวะ ที่หนึ่ง หรือครูชีส รูปแบบจังหวะที่พบบ่อย ๆ คือ และ เพลงจำนวน ๔๖ เพลง เป็นเพลงรำวงอีก ๙ เพลง เป็นเพลงร้องเล่น เฉพาะเทศกาล โดยมีเอกลักษณ์พิเศษหลายเพลง คือ การตี ท่ารำตามเนื้อร้อง ในเรื่องการสืบทอด พ่อเพลงแม่เพลง ยินดีจะถ่ายทอดให้กับผู้สนใจ แต่ปัจจุบันมีชาวบ้านท่าโพ จะรับถ่ายทอดไม่มาก เนื่องจากสภาพสังคมที่พัฒนาเปลี่ยนไป อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านท่าโพและบุคคล อื่น ๆ ในระดับจังหวัดให้ความสนใจและยังชอบฟังเพลงพื้นบ้านท่าโพอยู่ แนวทางในการสืบทอดเพลงพื้นบ้านท่าโพแบ่งเป็นสองระดับ คือ ระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ในระดับท้องถิ่นผู้มีบทบาทในการ ส่งเสริมการสืบทอดเพลงพื้นบ้านท่าโพ ควรเป็นชาวบ้านเอง โดยโรงเรียนควรมีการจัดสอนเพลง พื้นบ้านท่าโพ นอกจากนี้ในระดับอำเภอและจังหวัดควรมีบทบาทในการส่งเสริมการสืบทอดให้กว้าง ขวางออกไป ในระดับประเทศ ควรมีการเผยแพร่เพลงพื้นบ้านท่าโพเพื่อให้คนไทยรู้จักและส่งเสริมการ สืบทอดให้เป็นระบบ เพื่ออนุรักษ์เพลงพื้นบ้านท่าโพอันทรงคุณค่าไว้ เพราะเป็นเพลงที่มีเอกลักษณ์และ สร้างสรรค์ด้วยภูมิปัญญาไทยอย่างแท้จริงในขณะที่พ่อเพลงแม่เพลงรุ่นนี้ยังสามารถถ่ายทอดได้

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.34.1.8

First Page

84

Last Page

102

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.