Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ (๑) นิสิตรู้จัก การวางแผน ในการทำวิจัย (๒) นิสิตแสวงหาความรู้และสามารถสร้าง องค์ความรู้ด้วยตนเอง (๓) นิสิตเข้าใจการประยุกต์ใช้สถิติในงานวิจัย และ (๔) นิสิตมีประสบการณ์ตรงในการทำวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือวิทยานิพนธ์ระดับ บัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๓-๒๕๔๕ เครื่องมือที่ใช้ คือแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ บรรยาย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ๑. สถิติบรรยายที่วิทยานิพนธ์ทุกภาควิชานิยมใช้เรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ ร้อยละ (Percent) ๒. สถิติอ้างอิงที่วิทยานิพนธ์ทุกภาควิชานิยมใช้เรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ สหสัมพันธ์ (Correlation) การถดถอย (Regression) การทดสอบที่ (t-test) การทดสอบเอฟ (F-test) และ การทดสอบไค-สแควร์ (X-test) โดยมีวิทยานิพนธ์ของภาควิชาวิจัยการศึกษาที่ใช้สถิติที่แปลกใหม่ เช่น โมเดล เชิงเส้นตรงระดับลดหลั่น (Hierarcical Linear Model: HLM) โมเดล ลิสเรล (LISREL Model) งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสอนแบบเน้นวิจัยเป็นฐานโดยได้รับทุนสนับสนุนจากคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา ๒๕๕๖ ๓. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือพบว่า วิทยานิพนธ์ส่วนใหญ่นิยมการตรวจสอบความ ตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าอำนาจ จําแนก (Discrimination Power: r) ค่าความยาก (Level of Difficulty: P) ค่า ความเที่ยงตามสูตรของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน20 (Kuder-Richardson 20:KR20) นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการใช้วิธีพหุลักษณะ - พหุวิธี (Multitrait-Multimethod: MTMM) ใน วิทยานิพนธ์ของภาควิชาอุดมศึกษาบางเล่ม
First Page
115
Last Page
124
Recommended Citation
บวรกิติวงศ์, สุชาดา and ภิรมย์สมบัติ, ชยุตม์
(2004)
"มุมห้องเรียน : การสารวจการใช้สถิติในวิทยานิพนธ์ปีการศึกษา ๒๕๔๓-๒๕๔๕ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,"
Journal of Education Studies: Vol. 32:
Iss.
2, Article 10.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol32/iss2/10