•  
  •  
 

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของ ตัวบ่งชี้ความสําเร็จของการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานและเกณฑ์ วิธีการดดำเนิน การวิจัยใช้วิธีผสมผสานระหว่างวิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มี ๕ ขั้นตอน ขั้นตอนแรก เป็นการศึกษาวรรณคดีเพื่อสร้างกรอบความคิดสําหรับการวิจัย ขั้นตอนที่สอง เป็นการพัฒนาและคัดเลือกตัวบ่งชี้ด้วยเทคนิคเดลฟาย ขั้นตอน ที่สาม เป็นการกำหนดน้ำหนักความสำคัญของตัวบ่งชี้ด้วยวิธีการเชิงประจักษ์ ขั้นตอนที่สี่ เป็นการพัฒนาเกณฑ์ตัดสินความสําเร็จของการปฏิรูปการศึกษาขั้น พื้นฐาน และขั้นตอนที่ห้า เป็นการตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้และเกณฑ์ที่ พัฒนาด้วยการรับฟังความคิดเห็นผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มตัวอย่างเป็นศึกษานิเทศก์ เขตการศึกษา ๗ จำนวน ๒๕ คน สำหรับเทคนิคเดลฟาย กลุ่มผู้บริหาร ครู นักเรียน กรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองจากโรงเรียนในเขตพื้นที่การ ศึกษาสุโขทัย รวม ๕,๑๙๖ คน สําหรับการรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์ และกลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิและนักการศึกษาผู้เกี่ยวข้องรับเชิญ ๑๕๐ คน สําหรับการรับฟัง ความคิดเห็น เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสําหรับเทคนิคเดลฟาย ๓ ชุด สําหรับเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์ ๔ ชุด สําหรับพัฒนาเกณฑ์บอก ระดับความสําเร็จ ๑ ชุด และสําหรับการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ ๑ ชุด วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติบรรยาย และการ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า ๑. ตัวบ่งชี้ความสําเร็จของการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานที่พัฒนาขึ้นมี ๘ องค์ประกอบ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ย่อย ๑๒๙ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบ ด้านสิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา ๑๓ ตัวบ่งชี้ ด้านระบบการศึกษา ๕ ตัวบ่งชี้ ด้านแนวการจัดการศึกษา ๔๒ ตัวบ่งชี้ ด้านการบริหารและการจัดการศึกษา ๑๕ ตัวบ่งชี้ ด้านมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา ๙ ตัวบ่งชี้ ด้านครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ๑๘ ตัวบ่งชี้ ด้านทรัพยากรและการ ลงทุนทางการศึกษา ๑๔ ตัวบ่งชี้ และด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ๑๒ ตัวบ่งชี้ เมื่อจำแนกตามระบบการศึกษาได้ตัวบ่งชี้ด้านปัจจัยนําเข้า ๓๕ ตัวบ่งชี้ ด้าน กระบวนการ ๕๘ ตัวบ่งชี้ และด้านผลผลิต ๓๖ ตัวบ่งชี้ ๒. ผลการตรวจสอบความตรงของตัวบ่งชี้ ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลตัวบ่งชี้ความสําเร็จของการปฏิรูปการศึกษา มความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ น้ำหนักองค์ประกอบมีค่าเป็นบวก มีพิสัย ๐.๒๗-๐.๔๒ และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ เรียงลำดับความสำคัญได้ดังนี้ องค์ประกอบ การบริหาร ด้านแนวการจัดการศึกษา และการจัดการศึกษา เทคโนโลยีเพื่อการศึษา มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา สิทธิ และหน้าที่ทางการศึกษา ทรัพยากรและการ ลงทุนทางการศึกษา และ ระบบการศึกษา ตามลำดับ ๓. ผลการพัฒนาเกณฑ์ในการวัดความ สำเร็จของการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษา โดย ใช้การตัดสินของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่าเกณฑ์ผ่าน ของคะแนนรวมของการดำเนินงานปฏิรูปการ ศึกษาตามตัวบ่งชี้ในแต่ละองค์ประกอบและในภาพรวมควรเป็น ร้อยละ ๗๕ ยกเว้นใน องค์ประกอบด้านทรัพยากรและการลงทุนทาง การศึกษา และด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ซึ่ง ควรมีเกณฑ์ผ่านเป็น ร้อยละ ๖๕ และร้อยละ ๗๐ ตามลําดับ ๔. ผลการรับฟังความคิดเห็นผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่าผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยกับตัว บ่งชี้และเกณฑ์ตัดสินความสำเร็จของการปฏิรูป การศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ส่วนผลการจัด ลำดับความสําคัญพบว่า องค์ประกอบที่มีความ สำคัญเป็นลำดับแรก คือ ด้านแนวการ จัดการศึกษา รองลงมาคือ ด้านการบริหาร และการจัดการศึกษา ด้านครู คณาจารย์และ บุคลากรทางการศึกษา ด้านมาตรฐานและการ ประกันคุณภาพการศึกษา ด้านทรัพยากรและ การลงทุนทางการศึกษา ด้านเทคโนโลยีเพื่อ การศึกษา ด้านสิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา และด้านระบบการศึกษา ตามลำดับ

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.32.2.1

First Page

1

Last Page

15

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.