Abstract
หลักสูตรสาขาวิชาพัฒนศึกษาได้มีการบุกเบิกในประเทศสหรัฐอเมริกา มาตั้งแต่ต้นทศวรรษ ๑๙๖๐ และได้แพร่หลายไปประเทศต่างๆ อย่างกว้างขวาง แต่ ดูเหมือนว่าความเข้าใจเกี่ยวกับสาขาวิชานี้ยังมีความคลาดเคลื่อนในประเทศไทย ผู้เขียนจึงได้วิเคราะห์เอกสารหลักสูตรสาขาวิชา “พัฒนศึกษา” ๒๓ แห่งในภูมิภาค ต่างๆ ทั้งในสหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร สวีเดน ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น เพื่อสํารวจพัฒนาการและ “เอกลักษณ์” ของสาขาวิชาเพื่อเป็นข้อคิดสําหรับการพัฒนา หลักสูตรในประเทศไทย สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ (๑) สาขาวิชาพัฒนศึกษาเปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษา มีความเกี่ยวข้อง อย่างมากกับสาขาวิชาพื้นฐานการศึกษา (๒) การกำหนดเนื้อหาหลักสูตรมีลักษณะสหวิทยาการ (interdisciplinary),international/comparative no intercultural studies (๓) องค์ความรู้ของสาขาวิชาประกอบด้วยเนื้อหาทฤษฎีทางด้านการศึกษากับ การพัฒนา พื้นฐานการศึกษาด้านต่าง ๆ และนโยบายการศึกษา รวมไปถึงเทคนิคการ วิจัยและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และบทบาทการศึกษาในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ (๔) ขอบเขตของการศึกษาวิเคราะห์เน้นระดับกว้าง (macro) และให้ความ สนใจต่อการศึกษากับการพัฒนาและประเด็นปัญหาในประเทศกำลังพัฒนา (develop- ing countries) หรือโลกที่สาม (the Third World)
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.27.2.5
First Page
73
Last Page
88
Recommended Citation
รักษ์พลเมือง, ชนิตา
(1999)
"หลักสูตร “พัฒนศึกษา” ในต่างประเทศ : การวิเคราะห์ เพื่อบทเรียนสำหรับประเทศไทย,"
Journal of Education Studies: Vol. 27:
Iss.
2, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.27.2.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol27/iss2/5