Abstract
รูปแบบการศึกษาไทยที่สมดุลกับบริบทและสังคมไทย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพอนาคตของประเทศไทยและโลก ในศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อนําเสนอรูปแบบการศึกษาไทยที่สมดุลกับบริบทของสังคมไทย ในศตวรรษที่ ๒๑ โดยใช้วิธีการวิจัยตามกระบวนการอนาคตปริทัศน์ ศึกษาจากเอกสาร ตำรา ผลงานวิจัย บทความ และรายงานการประชุมสัมมนา จำนวนประมาณ ๒๐๐ รายการ และเก็บข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๓๐ คน เพื่อเป็นฐานในการนำเสนอ รูปแบบการศึกษาไทยฯ ผลจาการอ่านพิเคราะห์เอกสาร ได้บริบทของประเทศไทยและโลก และได้ นําเสนอภาพอนาคตของโลกในศตวรรษที่ ๒๑ ในรูปแบบของแผนภูมิสําหรับบริบท ของรูปแบบการศึกษาฯ เสนอในรูปของเคนโดแกรม ๕ ประเภท คือ (๑) บริบทของ ประเทศไทยสู่อนาคต (๒) บริบทของประเทศไทย : เศรษฐกิจ (๓) บริบทของประเทศไทย : สังคม-วัฒนธรรม (๔) บริบทของประเทศไทย : การเมือง และ (๕) บริบทของ ประเทศไทย : การศึกษา อันนำผู้วิจัยไปสู่การเสนอรูปแบบการศึกษาฯ ในรูปของ แผนภูมิและการเปรียบเทียบภาพที่มีการปฏิรูปและขาดการปฏิรูปตามรูปแบบฯ ตามองค์ประกอบ ดังนี้ (๑) ภาพรวม (๒) ศีลธรรม จรรยาและค่านิยม (๓) หลักสูตร (๔) การเงินการสอน (๕) ศาสตร์ (๖) การประเมินผล (๗) ทิศทางและทรัพยากร และ (๔) การบริหาร ข้อค้นพบที่สำคัญ เสนอในรูปของแผนภูมิระลอกแห่งการศึกษา อันเป็นผล จากการปฏิรูปสาระเพื่ออนาคตในศตวรรษที่ ๒๑ ตามรูปแบบฯ ซึ่งเน้นผลกระทบต่อสาระ การศึกษา 4 ระดับ ดังนี้ คือ (๑) เอกัตบุคคล (๒) ระหว่างบุคคล (๓) องค์กร (๔) ชุมชน (๕) วัฒนธรรม (๖) ชาติ (๗) นานาชาติ และ (๔) สากล ในศตวรรษที่ ๒๑
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.27.1.9
First Page
69
Last Page
82
Recommended Citation
อาชวอำรุง, พรชุลี
(1998)
"รูปแบบการศึกษาไทยที่สมดุลกับบริบทและสังคมไทย ในศตวรรษที่ ๒๑,"
Journal of Education Studies: Vol. 27:
Iss.
1, Article 9.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.27.1.9
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol27/iss1/9