•  
  •  
 
Chulalongkorn Medical Journal

Abstract

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตที่มีต่อปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และคะแนนคุณภาพชีวิต และศึกษาผลของซีรั่มต่อเซลล์บุผนังหลอดเลือดแดงของหัวใจ (human coronary artery endothelialcell, HCAEC)วิธีการศึกษา : ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 30 คน อายุเฉลี่ย 63.28 ปี แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการรักษาแบบปกติ (กลุ่ม UC) และกลุ่มที่เข้าโปรแกรมฯ (กลุ่ม LM) วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นค่าไขมันรวม oxLDL และ proteincarbonyl ในซีรั่ม ทิ่ baseline 6 เดือน และ 12 เดือน และทดสอบผลของซีรั่มดังกล่าวในเซลล์ HCAEC ตรวจวัดเซลล์มีชีวิตด้วยวิธี MTT [3-(4,5-dimethylthiazol-2-yl)-2,5-diphenyl tetrazolium bromide] assay และวัดระดับของอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นภายในเซลล์โดยวัดปริมาณแสงฟลูออเรสเซนต์ของสาร2,7-dichlorofluorescein (DCF) ทำแบบสอบถามความสามารถในการดูแลตนเองและแบบสอบถามคุณภาพชีวิต เพื่อประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรมฯ และสมรรถนะการทำงานรวมทั้งคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม โดยเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้ก่อนและหลังการศึกษา เมื่อติดตามครบ 1 ปีผลการศึกษา : จากผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยกลุ่ม LM มีระดับไขมันในเลือด ระดับของ oxLDLและ protein carbonyl ลดลงหลังจากเข้าโปรแกรมฯ 6 เดือน ในขณะที่เพิ่มสูงขึ้นในผู้ป่วยกลุ่ม UC แต่ที่ 12 เดือนไม่พบความแตกต่างทางสถิติเมื่อเทียบกับ baselineทั้งสองกลุ่มยกเว้นระดับ protein carbonyl ในผู้ป่วยกลุ่ม UC ที่เพิ่มสูงขึ้น และระดับ HDL-C ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และจากการทดสอบผลของซีรั่มที่ได้จากผู้ป่วยต่อเซลล์ HCAEC พบว่าร้อยละของเซลล์มีชีวิตเพิ่มขึ้นเมื่อincubated ด้วยซีรั่มจากผู้ป่วยกลุ่ม LM ที่ 6 เดือน แต่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติที่ 12 เดือน การวัดระดับของอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ พบว่าเมื่อincubated ซีรั่มที่ 6 เดือนของผู้ป่วยกลุ่ม LM ระดับของอนุมูลอิสระภายในเซลล์ลดลงจาก baseline แต่เพิ่มขึ้นในผู้ป่วยกลุ่ม UC เมื่อ incubated ซีรั่มที่ 12 เดือนของทั้งสองกลุ่ม พบว่าระดับของอนุมูลอิสระภายในเซลล์ไม่แตกต่างทางสถิติจากbaseline หลังจากเข้าโปรแกรมฯ ผู้ป่วยกลุ่ม LM บริโภคผักตามปริมาณที่แนะนำ(3 - 5 serving/วัน) มากขึ้น และมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านสังคม และเศรฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุป : จากผลแสดงให้เห็นว่าการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตสามารถลดระดับของoxidative damage products ในเลือดของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ ส่งผลดีต่อเซลล์บุผนังหลอดเลือดแดงของหัวใจ ทั้งในแง่ของการมีชีวิตอยู่เพิ่มขึ้นและมีการสร้างอนุมูลอิสระภายในเซลล์ลดลง ดังนั้นจึงเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด.

DOI

10.58837/CHULA.CMJ.54.1.8

First Page

81

Last Page

97

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.