Abstract
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตที่มีต่อปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และคะแนนคุณภาพชีวิต และศึกษาผลของซีรั่มต่อเซลล์บุผนังหลอดเลือดแดงของหัวใจ (human coronary artery endothelialcell, HCAEC)วิธีการศึกษา : ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 30 คน อายุเฉลี่ย 63.28 ปี แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการรักษาแบบปกติ (กลุ่ม UC) และกลุ่มที่เข้าโปรแกรมฯ (กลุ่ม LM) วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นค่าไขมันรวม oxLDL และ proteincarbonyl ในซีรั่ม ทิ่ baseline 6 เดือน และ 12 เดือน และทดสอบผลของซีรั่มดังกล่าวในเซลล์ HCAEC ตรวจวัดเซลล์มีชีวิตด้วยวิธี MTT [3-(4,5-dimethylthiazol-2-yl)-2,5-diphenyl tetrazolium bromide] assay และวัดระดับของอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นภายในเซลล์โดยวัดปริมาณแสงฟลูออเรสเซนต์ของสาร2,7-dichlorofluorescein (DCF) ทำแบบสอบถามความสามารถในการดูแลตนเองและแบบสอบถามคุณภาพชีวิต เพื่อประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรมฯ และสมรรถนะการทำงานรวมทั้งคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม โดยเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้ก่อนและหลังการศึกษา เมื่อติดตามครบ 1 ปีผลการศึกษา : จากผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยกลุ่ม LM มีระดับไขมันในเลือด ระดับของ oxLDLและ protein carbonyl ลดลงหลังจากเข้าโปรแกรมฯ 6 เดือน ในขณะที่เพิ่มสูงขึ้นในผู้ป่วยกลุ่ม UC แต่ที่ 12 เดือนไม่พบความแตกต่างทางสถิติเมื่อเทียบกับ baselineทั้งสองกลุ่มยกเว้นระดับ protein carbonyl ในผู้ป่วยกลุ่ม UC ที่เพิ่มสูงขึ้น และระดับ HDL-C ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และจากการทดสอบผลของซีรั่มที่ได้จากผู้ป่วยต่อเซลล์ HCAEC พบว่าร้อยละของเซลล์มีชีวิตเพิ่มขึ้นเมื่อincubated ด้วยซีรั่มจากผู้ป่วยกลุ่ม LM ที่ 6 เดือน แต่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติที่ 12 เดือน การวัดระดับของอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ พบว่าเมื่อincubated ซีรั่มที่ 6 เดือนของผู้ป่วยกลุ่ม LM ระดับของอนุมูลอิสระภายในเซลล์ลดลงจาก baseline แต่เพิ่มขึ้นในผู้ป่วยกลุ่ม UC เมื่อ incubated ซีรั่มที่ 12 เดือนของทั้งสองกลุ่ม พบว่าระดับของอนุมูลอิสระภายในเซลล์ไม่แตกต่างทางสถิติจากbaseline หลังจากเข้าโปรแกรมฯ ผู้ป่วยกลุ่ม LM บริโภคผักตามปริมาณที่แนะนำ(3 - 5 serving/วัน) มากขึ้น และมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านสังคม และเศรฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสรุป : จากผลแสดงให้เห็นว่าการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตสามารถลดระดับของoxidative damage products ในเลือดของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ ส่งผลดีต่อเซลล์บุผนังหลอดเลือดแดงของหัวใจ ทั้งในแง่ของการมีชีวิตอยู่เพิ่มขึ้นและมีการสร้างอนุมูลอิสระภายในเซลล์ลดลง ดังนั้นจึงเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.54.1.8
First Page
81
Last Page
97
Recommended Citation
Saengsiri, A; Wunsuwan, R; Srimahachota, S; Boonyaratavej, S; Tanechpongtamb, W; and Tosukhowong, P.
(2010)
"Change in cell viability, reactive oxygen species production and oxidative stress in older patients with coronary heart disease under going lifestyle management program,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 54:
Iss.
1, Article 8.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.54.1.8
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol54/iss1/8