Abstract
ปัญหาผู้ติดสุรา เป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในประเทศไทย ผู้ติดสุราอาจจะหยุดดื่มสุราด้วยสาเหตุหลาย ๆ อย่าง อาจจะตั้งใจหยุดเอง หรือเกิดจากความจำเป็น เนื่องจากเจ็บป่วยด้วยอุบัติเหตุหรือ โรคทางอายุรกรรม เฉียบพลัน ซึ่งผลการหยุดสุราทันทีหลังทีจากดื่มมาเป็นเวลานาน ก็จะเกิดกลุ่มอาการถอนสุราขึ้นกลุ่มอาการถอนสุรา แบ่งเป็นระดับความรุนแรง เป็นแบบไม่มีโรคแทรกซ้อน กับมีโรคแทรกซ้อนซึ่งระดับรุนแรงไม่มาก มักจะไม่มีอันตรายและหายได้เอง ส่วนระดับรุนแรงมาก มักจะประกอบด้วยกลุ่มอาการ 3 ชนิด ได้แก่ โรคลมชักเนื่องจากการถอนสุรา โรคจิตที่เกิดจากการใช้สุรา และโรค Deliriumที่เกิดจากการถอนสุราเนื่องจากผู้ดื่มสุราเป็นเวลานาน มักจะมีโรคประจำตัวทางอายุรกรรมอื่นร่วมด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคตับเรื้อรัง นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจจะป่วยด้วยโรคทางอายุรกรรมขณะที่มีอาการถอนสุราดังนั้น การประเมินผู้ป่วย การวางแผนรักษา การเฝ้าระวังติดตามอาการอย่างใกล้ชิดจึงมีความสำคัญมากบทความนี้ได้ทบทวน สาเหตุของการเกิด Alchol tolerance และการถอนสุรา อธิบายการดำเนินโรคของกลุ่มอาการถอนสุรา การวินิจฉัยและการวินิจฉัยแยกโรค การตรวจทางห้องปฏิบัติการแนวทางในการรักษาผู้ป่วยถอนพิษสุรา ข้อบ่งชี้ในการรับรักษาในโรงพยาบาล วิธีประเมินความรุนแรงของภาวะถอนสุรา ขั้นตอนการให้ยารักษา และการเฝ้าระวังความเสี่ยงต่าง ๆ.
DOI
10.58837/CHULA.CMJ.54.1.7
First Page
67
Last Page
79
Recommended Citation
Lalitanantpong, D.
(2010)
"Alcohol withdrawal: Syndrome and treatment,"
Chulalongkorn Medical Journal: Vol. 54:
Iss.
1, Article 7.
DOI: https://doi.org/10.58837/CHULA.CMJ.54.1.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/clmjournal/vol54/iss1/7