Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Cost effectiveness analysis of ondansetron, olanzapine and dexamethasone regimen compare to NEPA, a fixed oral combination of netupitant and palonosetron, olanzapine and dexamethasone for prevention of chemotherapy-induced nausea and vomiting in patients receiving highly emetogenic chemotherapy
Year (A.D.)
2019
Document Type
Thesis
First Advisor
สืบพงศ์ ธนสารวิมล
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
อายุรศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2019.1498
Abstract
ความเป็นมา ในปัจจุบันยาสูตรสามชนิดซึ่งประกอบด้วยออนแดนซีทรอน โอแลนซาปีนและเดกซาเมททาโซนเป็นยาป้องกันอาการคลื่นไส้สูตรมาตรฐานในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดสูตรที่มีความเสี่ยงคลื่นไส้อาเจียนสูงในประเทศไทย อย่างไรก็ตามยาสูตรสี่ชนิดซึ่งเพิ่มยายับยั้งตัวรับนิวโรไคนินวันเป็นยาสูตรที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นสูตรยาหลักในแนวทางเวชปฏิบัติระดับนานาชาติ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาต้นทุนประสิทธิผลของการใช้ยายับยั้งตัวรับนิวโรไคนินวันในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดสูตรซิสพลาตินขนาดสูงโดยใช้มุมมองทางสังคม วิธีการศึกษา สุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาซิสพลาตินขนาดสูงเป็นครั้งแรกจำนวน 40 ราย เป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยได้รับยาป้องกันอาการคลื่นไส้สูตรสี่ชนิด รวมถึงยายับยั้งนิวโรไคนินวัน (NK1RA-upfront strategy) และกลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยได้รับยาป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนสูตรสามชนิดในรอบที่ 1 ของยาเคมีบำบัด และเพิ่มยายับยั้งนิวโรไคนินวันในรอบต่อไปเฉพาะรายที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน (NK1RA-rescue strategy) เก็บข้อมูลอัตราผู้ป่วยที่ไม่อาเจียนและไม่ใช้ยาเสริม (complete response (CR) rate) ต้นทุนและคะแนนคุณภาพชีวิต (FLIE score, EQ-5D-5L) ในสองรอบแรกของการให้ยาซิสพลาติน วัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มทุนโดยใช้อัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผล และสร้างแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ (decisional-tree model) เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มทุนของทั้งสองกลุ่มเทียบกับการใช้ยาสูตรสามชนิดในทุกรอบของการให้ยา (standard strategy) โดยกำหนดค่า CR rate ของยาสูตรสี่ชนิดในแบบจำลองจาก odd ratios ของการศึกษาวิเคราะห์อภิมานเครือข่าย ผลการวิจัย CR rates เท่ากับร้อยละ 68.4 และ 90 ในรอบที่ 1 ของการให้ยา (p=0.101) และร้อยละ 57.1 และ 63.2 ในรอบที่ 2 (p=0.172) ในกลุ่มที่หนึ่งและกลุ่มที่สองตามลำดับ ไม่สอดคล้องกับรายงานก่อนหน้านี้ ซึ่งน่าจะเกิดจากหลายปัจจัยของวิธีวิจัย เมื่อวิเคราะห์ความคุ้มทุนพบว่ากลุ่มที่หนึ่งไม่คุ้มทุนเมื่อเทียบกับกลุ่มที่สองโดยมีต้นทุนสูงกว่าและปีสุขภาวะต่ำกว่า ผู้วิจัยจึงวิเคราะห์ความคุ้มทุนด้วยแบบจำลอง decisional-tree model โดยเก็บข้อมูลเพิ่มในกลุ่มที่ได้ยาสามชนิดเป็นจำนวน 30 รายพบว่า CR rates มีค่าร้อยละ 80 และร้อยละ 68 ในรอบที่หนึ่งและรอบที่สองของยาเคมีบำบัดตามลำดับ ค่าปีสุขภาวะมีค่าสูงสุดในกลุ่ม NK1RA-upfront strategy โดยมีค่า 0.0325 ตามด้วย 0.0316 และ 0.0269 ใน NK1RA-rescue strategy และ standard strategy ตามลำดับ และต้นทุนรวม 11,309, 4,411 และ 3,685 บาทตามลำดับ แนวทางเลือก NK1RA-rescue strategy เป็นทางเลือกเดียวที่มีความคุ้มทุนเมื่อเทียบกับแนวทางเลือก standard strategy โดยมีค่าอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลที่ 154,434 บาทต่อปีคุณภาพชีวิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ความคุ้มค่าของบริบทประเทศไทยซึ่งมีค่า 160,000 บาท สรุปผล การเพิ่มยายับยั้งตัวรับนิวโรไคนินวันในผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนหลังได้รับยาป้องกันสูตรมาตรฐานสามชนิดมีความคุ้มทุนในบริบทของประเทศไทยในผู้ป่วยที่รับยาเคมีบำบัดสูตรซิสพลาตินขนาดสูง
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Background: Currently, three-drug regimen including ondansetron olanzapine and dexamethasone is the standard reimbursable anti-emetic regimen in chemotherapy-induced nausea and vomiting (CINV) prevention for Thai patients receiving high-dose (HD) cisplatin. Four-drug regimen with additional NK-1 receptor antagonist (NK1RA) is considered more effective and recommended by international practice guideline. Objectives: To evaluate cost effectiveness of NK1RA for prophylaxis of CINV in patients receiving HD cisplatin in societal perspective. Methods: During January to December 2019, 40 patients receiving HD cisplatin were randomized to two groups. First, NK1RA-upfront strategy, patients received four drug NK1RA-containing regimen in all cycles. Second, NK1RA-rescue strategy, patients received three-drug regimen in the first cycle and additional NK1RA in subsequent cycle if the patients experienced CINV. Complete response rate (CR rate), total medical resource utility, non-medical cost, and quality of life were collected in first and second cycle. The study endpoint is to compare cost and QALYs in term of incremental cost-effectiveness ratio (ICER). Additional three-arm decisional tree model was conducted to compare these two strategies with standard strategy, patients received three-drug regimen in all cycles. CR rates in four-drug regimen in model were assumed by combination of CR rates in three-drug regimen and odd ratio from network meta-analysis. Results : CR rate in first cycle were 68.4% and 90% in NK1RA-upfront strategy and NK1RA-rescue strategy respectively (p=0.101). CR rate in second cycle were 57.1% and 63.2% respectively (p=0.172). These unexpected findings could be caused by several factors in study methodology. From the ICER result, NK1RA-upfront strategy was dominated by NK1RA-rescue strategy due to higher costs and lower QALYS. After further enrolled to 30 patients in three-drug regimen, we established a decisional-tree model which CR rates were decreased to 80% and 68% in first and second cycle. From the model analysis, NK1RA-upfront strategy produced greatest QALYs of 0.0325, followed by 0.0316 and 0.0269 in NK1RA-rescue strategy and standard strategy. Mean total costs were 11,309, 4,411 and 3,685 THB respectively. The ICER of NK1RA-rescue strategy and NK1RA-upfront strategy relative to standard strategy were 154,434 and 1,361,339 THB per QALY respectively. Therefore, the ICER of NK1RA-rescue strategy but not NK1RA-upfront strategy is considered to be cost effective at the willingness-to-pay (WTP) level of 160,000 THB per QALY. Conclusion: Our findings suggested that the additional NK1RA as a rescue strategy is cost-effective in patients receiving HD cisplatin in Thai health care.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
มหาพรรณ, วรรศมล, "การศึกษาต้นทุนประสิทธิผลของการใช้ยาออนแดนซีทรอนร่วมกับโอแลนซาปีนและเดกซาเมททาโซนเปรียบเทียบกับยาเนทตูพิแทน พาลาโนซีตรอน โอแลนซาปีนและเดกซาเมททาโซนในการป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้เคมีบำบัดสูตรที่มีความเสี่ยงคลื่นไส้อาเจียนสูง" (2019). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 9874.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/9874