Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The playwriting and music composition for Thai musical theater: the princess Palalerslaksanawalai
Year (A.D.)
2019
Document Type
Thesis
First Advisor
พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์
Second Advisor
ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน
Faculty/College
Faculty of Fine and Applied Arts (คณะศิลปกรรมศาสตร์)
Degree Name
ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
ศิลปกรรมศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2019.1353
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ประวัติ แนวคิดและคุณค่าของนวนิยายเรื่อง เจ้าหญิงพลาเลิศลักษณาวไล สร้างองค์ความรู้และการสร้างสรรค์บทและการประพันธ์ทำนองทางร้อง ดนตรีและกลวิธีการขับร้องสำหรับละครร้องโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการสร้างสรรค์วิเคราะห์ข้อมูลตามหัวเรื่องที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ นวนิยายเรื่องเจ้าหญิงพลาเลิศลักษณาวไลประพันธ์โดยวรมัย กบิลสิงห์ระหว่างปี พ.ศ. 2495-2496 เชิดชูผู้นำที่เป็นวีรสตรีที่ปรากฏอยู่ในความพยายามพิสูจน์ตนเองของตัวละครเพื่อต้องการสื่อสารด้านความหลากหลายทางเพศที่เกินขอบข่ายพื้นที่ตามโครงสร้างที่สังคมกำหนดและพิจารณาความไม่ยุติธรรมของสังคมที่อยู่ภายใต้อุดมการณ์ปิตาธิปไตย ผู้วิจัยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีเควียร์วิเคราะห์คุณค่าของนวนิยายเพื่อสื่อสารและแสวงหาคำตอบการไม่จำกัดกรอบทัศนคติทางเพศโดยนำต้นทุนและแรงบันดาลใจของการสร้างสรรค์มาจากแบบแผนการแสดงและการบรรเลงดนตรีละครร้องปรีดาลัย บทสำหรับละครร้องเรื่อง เจ้าหญิงพลาเลิศลักษณาวไลมีจำนวน 7 ฉากและกำหนดแก่นของเรื่องคือ คุณค่าของการมีชีวิตอยู่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพศสภาพ ตัวละครที่นำมาใช้ในการเล่าเรื่องจำนวน 4 ตัวละคร โดยเล่าเรื่องผ่านตัวละครเอกคือเจ้าหญิงพลาเลิศลักษณาวไล กำหนดให้มีลูกคู่ทำหน้าที่เป็นผู้เล่าเรื่องโดยยึดตามโครงสร้างเดิมของบทนวนิยายและตีความตามแก่นของเรื่องที่ผู้ที่วิจัยต้องการสื่อสาร การสร้างสรรค์ดนตรีและการขับร้องผู้วิจัยกำหนดแนวคิดการประพันธ์เพลงสำเนียงแขกโดยศึกษาและวิเคราะห์จากบทเพลงไทยสำเนียงแขกที่ใช้ในโขนละครไทยและนำดนตรีโนรา ดนตรีรองเง็งนำมาใช้เป็นต้นทุนการประพันธ์เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะตัวละคร สถานที่ที่ตัวละครอาศัยอยู่ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objectives of this research were to analyze the history, concepts, and values of ‘Princess Palalerslaksanawalai’ the novel; to compose lyrics, melodies, and singing techniques for ‘Princess Palalerslaksanawalai’ musical performance. Qualitative research was conducted in order to collect data and analyze the concept and value of the novel, which then allowed the process of composing lyrics and melodies. Queer Theory, Preedalai Musical theatre, vocal music and instrumental music for Thai theatre, and music of the southern part of Thailand are fundamental concepts for analytical tools and production design. The novel ‘The Princess Palalerslaksanawalai’ promotes female rights by glorifying a heroine who goes through phases in proving herself worthy. It not only portrays sexual diversity which goes beyond the boundaries set by society but also discusses various forms of injustice in the ideal world of democracy, including the heterosexual ideology. The Queer Theory is incorporated in the novel to find answers which are not bound by any sexual standpoint. The research findings showed that the composition of lyrics and melodies for ‘The Princess Palalerslaksanawalai’ was inspired by the Preedalai musical theatre, with the main theme being ‘gender does not define the value of life’. Musical and vocal composition is based on Thai songs with Khak (Malay and Javanese) accents used in Khon (traditional Thai masked dance) and Thai traditional theatre as well as Nora (traditional, folk performing arts that is popular in the southern region of Thailand) and Rongeng music (music used in Rongeng dance which is a type of muslim dance with singing and the music of a violin, rammana (goblet drum), accordion and a gong), which is applicable and relevant to the characters and the settings of the novel.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เอื้อศิลป์, สัณห์ไชญ์, "การสร้างสรรค์บทและดนตรีสำหรับละครร้องเรื่อง เจ้าหญิงพลาเลิศลักษณาวไล" (2019). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 9729.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/9729