Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effects of farinelli’s breathing exercise on pulmonary function and respiratory muscle strength in patients with chronic obstructive pulmonary disease
Year (A.D.)
2019
Document Type
Thesis
First Advisor
วรรณพร ทองตะโก
Second Advisor
นัยนา วงศ์สายตา
Faculty/College
Faculty of Sports Science (คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
DOI
10.58837/CHULA.THE.2019.1118
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกหายใจแบบฟาริเนลลีและเปรียบเทียบผลของการฝึกหายใจแบบฟาริเนลลีกับการฝึกหายใจแบบใช้กะบังลม ที่มีต่อสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า อายุ 51 – 80 ปี เพศชายและหญิง จำนวน 16 คน ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ได้รับการฝึกหายใจแบบฟาริเนลลี จำนวน 8 คน และกลุ่มที่ 2 ได้รับการฝึกหายใจแบบใช้กะบังลม จำนวน 8 คน โดยแต่ละกลุ่มจะได้รับการฝึกหายใจ 5 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ก่อนและหลังการทดลองทำการทดสอบข้อมูลด้านสรีรวิทยา ตัวแปรด้านสมรรถภาพปอด ตัวแปรด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ ตัวแปรความสามารถทางแอโรบิก ตัวแปรด้านอาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และตัวแปรด้านสารชีวเคมีในเลือด จากนั้นนำมาวิเคราะห์ผลทางสถิติด้วยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t-test) และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ด้วยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test) ที่ระดับความนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ไม่พบความแตกต่างของงค่าเฉลี่ยข้อมูลด้านสรีรวิทยา ได้แก่ น้ำหนักตัว อัตราการเต้นหัวใจขณะพัก ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว ความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว ดัชนีมวลกาย ค่าร้อยละไขมันในร่างกาย และค่าร้อยละของออกซิเจนในเลือดแดง เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการทดลองและระหว่างกลุ่ม ตัวแปรด้านสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจพบว่า กลุ่มที่ได้รับการฝึกหายใจแบบฟาริเนลลี มีค่าเฉลี่ยปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ค่าปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ค่าเฉลี่ยปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที ค่าเฉลี่ยปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออก ค่าเฉลี่ยปริมาตรหายใจเข้าสำรอง ค่าเฉลี่ยความจุหายใจเข้า ค่าเฉลี่ยแรงดันหายใจเข้าสูงสุด และค่าเฉลี่ยแรงดันหายใจออกสูงสุดเพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มที่ได้รับการฝึกหายใจแบบใช้กะบังลม มีค่าเฉลี่ยของความจุหายใจเข้า และค่าเฉลี่ยแรงดันหายใจออกสูงสุดเพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า ที่ฝึกหายใจแบบฟาริเนลลีมีค่าเฉลี่ยแรงดันหายใจเข้าสูงสุด และค่าเฉลี่ยแรงดันหายใจออกสูงสุดเพิ่มขึ้นแตกต่างกับกลุ่มฝึกหายใจแบบใช้กะบังลมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 สำหรับตัวแปรด้านความสามารถทางแอโรบิก และตัวแปรด้านอาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และตัวแปรด้านสารชีวเคมีในเลือด พบว่า ทั้งกลุ่มฝึกหายใจแบบฟาริเนลลีและกลุ่มฝึกหายใจแบบใช้กะบังลมมีค่าเฉลี่ยระยะทางในการเดินทดสอบ 6 นาที ค่าเฉลี่ยสมรรถภาพในการใช้ออกซิเจนสูงสุดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และมีค่าเฉลี่ยคะแนนแบบประเมินผลกระทบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 เมื่อเทียบระหว่างก่อนและหลังการทดลองแต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม นอกจากนี้ ตัวแปรด้านสารชีวเคมีในเลือดของกลุ่มที่ได้รับการฝึกหายใจแบบฟาริเนลลีพบว่ามีค่าเฉลี่ยทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์อัลฟา ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม สรุปผลวิจัย การฝึกหายใจแบบฟาริเนลลีเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ช่วยพัฒนาสมรรถภาพปอด ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ ความสามารถทางแอโรบิก อาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และไซโตไคน์ที่ก่อให้เกิดการอักเสบของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ดีขึ้น
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objectives of the study were to investigate the effects of Farinelli’s breathing exercise and to compare the effects of Farinelli’s breathing exercise and diaphragmatic breathing exercise on pulmonary function and respiratory muscle strength in patients with Chronic Obstructive Pulmonary Disease (COPD). Sixteen patients with Chronic Obstructive Pulmonary Disease aged 51 – 80 years old who were visit at the outpatient examination room, Phramongkutklao Hospital divided into 2 groups; Farinelli’s breathing group (FB; n=8) and diaphragmatic breathing group (DB; n=8). Participants in each group were administered to complete breathing exercise 5 times per week for 8 weeks. Physiological data, pulmonary function, respiratory muscle strength, aerobic capacity, COPD – related symptoms and biochemical blood variables were analyzed during Pre- and Post-test. The dependent variables between pre-test and post-test were analyzed by a pair t-test. Independent t-test was used to compare the variables between groups. Differences considered to be significant at p-value < .05. The result indicated that after 8 weeks, there were no significant difference in physiological data such as body weight, resting heart rate, systolic blood pressure, diastolic blood pressure, body mass index, percent of body fat and percent of oxygen saturation when compare with pre-test and between group. Therefore, the FB group increased forced vital capacity (FVC), forced expiratory volume in 1 second (FEV)1, maximum voluntary ventilation (MVV), vital capacity (VC), inspiratory volume reserve (IRV), inspiratory capacity (IC), maximal inspiratory pressure (MIP) maximal expiratory pressure, (MEP), 6-minute walk distance (6-MWD), maximal oxygen consumption (VO2peak) and decreased COPD assessment test (CAT) scores and tumor necrosis factor - alpha (TNF – α) compared to pre-test (p-value <.05) while the DB group increased inspiratory capacity (IC), maximal expiratory pressure (MEP), 6-minute walk distance (6-MWD), maximal oxygen consumption (VO2peak) and decreased COPD assessment test (CAT) scores compared to pre-test (p-value <.05). Moreover, the FB group had significantly higher maximal inspiratory pressure (MIP) and maximal expiratory pressure (MEP) than the DB group (p-value <.05), but there was no significant difference in pulmonary function, aerobic capacity, COPD – related symptoms and biochemical blood variables between group. In conclusion, the recent findings demonstrated that 8 weeks of Farinelli’s breathing exercise had beneficial effects in patients with COPD by improving pulmonary function, respiratory muscle strength, aerobic capacity, COPD – related symptoms and pro-inflammatory cytokine.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
อิทธินิรันดร, ศุภวิชญ์, "ผลของการฝึกหายใจแบบฟาริเนลลีที่มีต่อสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง" (2019). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 9494.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/9494