Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effects of applied Thai dance training on flexibility and muscle pain in female office workers
Year (A.D.)
2019
Document Type
Thesis
First Advisor
สุรสา โค้งประเสริฐ
Faculty/College
Faculty of Sports Science (คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิทยาศาสตร์การกีฬา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2019.1103
Abstract
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการฝึกรำไทยประยุกต์ที่มีต่อความยืดหยุ่นและความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อในพนักงานสำนักงานเพศหญิง โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานสำนักงาน บริษัท อสมท จำกัด ที่มีอายุระหว่าง 24-45 ปี จำนวน 37 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยการจับคู่ค่าคะแนนความเจ็บปวด (VAS) ได้แก่ กลุ่มทดลอง (กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฝึกรำไทยประยุกต์) 18 คน และกลุ่มควบคุม (กลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมการฝึกรำไทยประยุกต์) 19 คน โดยกลุ่มทดลองรับการฝึกรำไทยประยุกต์ 10 ท่า ครั้งละ 20 นาที เป็นจำนวน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ รวมเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ทำการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง โดยทำการทดสอบดังนี้ ทดสอบความยืดหยุ่นด้วยการเอื้อมมือแตะหลัง (Back scratch test) และประเมินพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ได้แก่ คอ ข้อมือ ข้อศอก ข้อไหล่ และลำตัว ทดสอบความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อด้วยแบบประเมินความรู้สึกเจ็บปวด (Visual Analog Scale) ทดสอบความแข็งแรงด้วยการประเมินแรงบีบมือ (Hand grip) การทดสอบยกน้ำหนักสูงสุดที่ยกได้เพียง 1 ครั้ง (1RM) 3 ท่า ได้แก่ ท่า Bench press, Bent over row และ Shoulder shrug และการประเมิน Phalen’s test ของข้อมือ นำผลที่ได้วิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ด้วยการทดสอบค่าทีอิสระ (Independence T-Test) และวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการฝึกภายในกลุ่มด้วยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired T-Test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อดีขึ้นจากการประเมินพิสัยการเคลื่อนไหวโดยเฉพาะพิสัยการเคลื่อนไหวของคอและข้อไหล่ในทุกทิศทาง ลำตัวในส่วนของ Trunk extension และ Trunk lateral flexion ข้อศอก ในการทำ Elbow flexion และข้อมือ ยกเว้น Right wrist flexion และ Left ulna deviation ความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อคอ บ่าและไหล่ลดลง แต่ความแข็งแรงไม่แตกต่างจากเดิมเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลจากการการประเมิน Phalen’s test พบว่า ในกลุ่มทดลองก่อนการทดลอง พบว่ามีผู้มีอาการชาบริเวณข้อมือลดลง สำหรับการเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลองพบว่าหลังการฝึกรำไทยค่าความยืดหยุ่นจากการทดสอบเอื้อมมือแตะหลัง (Back scratch test) ดีขึ้น ความแข็งแรงจากค่าทดสอบแรงบีบมือ (Hand grip) ดีขึ้นและค่าการทดสอบด้วยการยกน้ำหนัก (1RM) ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 สรุปผลการวิจัย โปรแกรมการรำไทยประยุกต์ส่งผลให้พนักงานสำนักงานมีความยืดหยุ่นเพิ่มมากขึ้น ความรู้สึกเจ็บปวดลดลง เมื่อเข้ารับการฝึกเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ดังนั้นการรำไทยประยุกต์จึงสามารถเป็นทางเลือกในการบริหารร่างกายเพื่อช่วยลดอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อคอ บ่าและไหล่ในพนักงานสำนักงานได้
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this study was to evaluate the effectiveness of applied Thai dance training on flexibility and muscle pain in female office workers. Thirty-seven female office workers in MCOT Public Company Limited, aged between 24-45 years old who had moderate pain (VAS 45-74mm) were recruited to be in the study. Participants were assigned to either the applied Thai dance group (n = 18) or the control group (n = 19, non-intervention) by matching VAS score. The applied Thai dance group participated the applied Thai dance program (10 dances) for 20 minutes, 3 times a week for 6 weeks, by performing the flexibility test using a back-scratch test and measuring the range of motions (ROM). The ROM testing were neck, wrists, elbows, shoulders and trunk. The muscle pain test using Visual Analog Scale (VAS), evaluating strength test using hand grips and one repetition maximum (1RM) of Bench press, Bent over row and Shoulder shrug. Phalen’s test was measured as well. The obtained data were expressed in terms of means and standard deviations and analyzed using paired samples t-test and independent samples t-test. Differences were considered to be significant at p < .05. The results of the study were as follows. After 6 weeks of training, when compared with the control group, the results show that the muscle flexibility were increased by measuring the ROM of neck, shoulders, trunk (extension and lateral flexion), elbows (flexion) and wrist except wrist flexion on the right and ulna deviation on the left. Additionally, the pain was significantly decreased than the control group at the .05 level. There were no different significantly in 1RM. Moreover, the Phalen’s test was decreased while the control group was increased. On the other hand, when compare within the trained group the results show that they had increased flexibility by back scratch test and strength by hand grip test and 1 RM test were significantly at the .05 level. In conclusion, the applied Thai dance program can effectively increase flexibility and reduce muscle pain in office workers after participating 6 weeks. These findings suggest that the applied Thai dance program could be an alternative form of exercise in office workers.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ฐิติวราเดช, ปริษา, "ผลของการฝึกรำไทยประยุกต์ต่อความยืดหยุ่นและความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อในพนักงานสำนักงานเพศหญิง" (2019). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 9479.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/9479