Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effects of balloon - blowing breathing exercise on pulmonary function and respiratory muscle strength in school – age children with asthma
Year (A.D.)
2019
Document Type
Thesis
First Advisor
วรรณพร ทองตะโก
Second Advisor
สุวิมล โรจนาวี
Faculty/College
Faculty of Sports Science (คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิทยาศาสตร์การกีฬา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2019.1084
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกหายใจด้วยการเป่าลูกโป่งและเปรียบเทียบผลของการฝึกหายใจด้วยการเป่าลูกโป่งกับการฝึกหายใจแบบหายใจเข้าสูงสุดและคงค้าง ที่มีต่อสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในเด็กวัยเรียนที่เป็นโรคหืด กลุ่มตัวอย่างคือเด็กวัยเรียนโรคหืด อายุ 7–12 ปี ที่เข้ารับการรักษาที่ห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำนวน 30 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ได้รับการฝึกหายใจแบบหายใจเข้าสูงสุดและคงค้าง จำนวน 15 คน และกลุ่มที่ 2 ได้รับการฝึกหายใจด้วยการเป่าลูกโป่ง จำนวน 15 คน ทั้งสองกลุ่มฝึกหายใจ 5 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ซึ่งก่อนและหลังการทดลองผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลด้านสรีรวิทยา ตัวแปรด้านสมรรถภาพปอด ตัวแปรด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ และตัวแปรด้านอาการของโรคหืด วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยตัวแปรระหว่างก่อน และหลังการทดลอง โดยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t-test) และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างกลุ่ม โดยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มมีค่าเฉลี่ยข้อมูลด้านสรีรวิทยาได้แก่ น้ำหนักตัว ส่วนสูง อัตราการเต้นหัวใจขณะพัก ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว และความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว ไม่แตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการทดลองและระหว่างกลุ่ม ตัวแปรด้านสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจพบว่า กลุ่มที่ฝึกหายใจด้วยการเป่าลูกโป่ง มีค่าเฉลี่ยปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ค่าเฉลี่ยปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ค่าเฉลี่ยอัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุด ค่าเฉลี่ยปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที ค่าเฉลี่ยแรงดันการหายใจเข้าสูงสุด และค่าเฉลี่ยแรงดันการหายใจออกสูงสุดเพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มที่ฝึกหายใจแบบหายใจเข้าสูงสุดและคงค้าง มีค่าเฉลี่ยปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที ค่าเฉลี่ยแรงดันการหายใจเข้าสูงสุด และค่าเฉลี่ยแรงดันการหายใจออกสูงสุดเพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า กลุ่มที่ฝึกหายใจด้วยการเป่าลูกโป่งมีค่าเฉลี่ยแรงดันการหายใจออกสูงสุดเพิ่มขึ้นแตกต่างกับกลุ่มที่ฝึกหายใจแบบหายใจเข้าสูงสุดและคงค้าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับตัวแปรด้านอาการของโรคหืด พบว่า คะแนนการควบคุมโรคของทั้งสองกลุ่มมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเทียบระหว่างก่อนและหลังการทดลองแต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม สรุปผลการวิจัย การฝึกหายใจด้วยการเป่าลูกโป่งเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ช่วยพัฒนาสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ รวมถึงช่วยให้สามารถควบคุมโรคหืดได้ดียิ่งขึ้น
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purposes of this study were to determine the effects of balloon blowing breathing exercise and to compare the effects of balloon-blowing and sustained maximal inspiration (SMI) breathing exercise on pulmonary function and respiratory muscle strength in school-age children with asthma. Thirty school-age children with asthma aged 7 - 12 years old who were visited at the outpatient examination room, Phramongkutklao Hospital divided into 2 groups; sustained maximal inspiration breathing group (SMI; n=15) and balloon-blowing breathing group (BB; n=15). Participants in each group were administered to complete breathing exercise 5 times per week for 8 weeks. Physiological data, pulmonary function, respiratory muscle strength, and asthma symptoms variables were analyzed during Pre- and Post-test. The researcher collected physiological data, variables, including pulmonary function, respiratory muscle strength, and asthma symptoms. The dependent variables between pre-test and post-test were analyzed by a paired t-test. Independent t-test was used to compare the variables between groups. Differences were considered to be significant at p < .05. The results indicated that after 8 weeks, there were no significant difference in physiological data such as body weight, height, resting heart rate, systolic blood pressure, and diastolic blood pressure when compared with pre-test and between group. In addition, the BB group increased FVC, FEV1, PEF, MVV, MIP, and MEP compared to pre-test (p<.05) while the SMI group increased MVV, MIP, and MEP compared to pre-test (p<.05). Moreover, the BB group had significantly higher MEP than the SMI group (p<.05). The asthma control scores were significantly increased in the both groups when compared with pre-test (p<.05), but there was no significant difference in asthma control scores between group. In conclusion, the present findings demonstrated that the 8 weeks of balloon-blowing breathing exercise had beneficial effects in school-age children with asthma by improving pulmonary function, respiratory muscle strength, and asthma control.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
บุญล้ำ, กฤษณา, "ผลของการฝึกหายใจด้วยการเป่าลูกโป่งที่มีต่อสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในเด็กวัยเรียนที่เป็นโรคหืด" (2019). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 9460.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/9460