Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Ceasefire and democratization of minority groups in Myanmar: case studies of Kachin and Karen
Year (A.D.)
2019
Document Type
Thesis
First Advisor
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์
Faculty/College
Faculty of Political Science (คณะรัฐศาสตร์)
Degree Name
รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
รัฐศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2019.1076
Abstract
การศึกษานี้ตั้งข้อสังเกตต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยในเมียนมาว่าไม่อาจเปลี่ยนผ่านได้ด้วยแนวทางเส้นตรง (linear democratization)ได้แก่การจัดตั้งสถาบันทางการเมืองหรือ การจัดให้มีการเลือกตั้ง เพราะไม่ใช่แนวทางที่แน่นอนในการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยแบบเสรีได้อย่างแท้จริง การศึกษานี้มีคำถามวิจัย คือ การทำข้อตกลงหยุดยิงระหว่างฝ่ายรัฐบาลเมียนมา และฝ่ายกลุ่มชาติพันธุ์ส่งผลต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยในสหภาพเมียนมาอย่างไร ตลอดจนข้อตกลงหยุดยิงระหว่างรัฐบาลเมียนมา กับรัฐบาลรัฐคะฉิ่นและระหว่างรัฐบาลเมียนมากับรัฐบาลรัฐกะเหรี่ยงส่งผลต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยภายในรัฐกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสองอย่างไร ทั้งยังศึกษาเปรียบเทียบข้อตกลงหยุดยิงและผลต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยของรัฐบาลรัฐคะฉิ่นและรัฐบาลรัฐกะเหรี่ยงหลังการทำข้อตกลงหยุดยิง กรอบหลักในการศึกษาคือ การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยของโดนัลด์ แชร์(Donald Share) ที่อธิบายการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยในสหภาพเมียนมาโดยการยินยอมของฝ่ายผู้นำทหาร สำหรับการเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยในรัฐคะฉิ่นและรัฐกะเหรี่ยง อธิบายภายใต้กรอบการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยแบบเป็นไปตามกระบวนการตามลำดับ (Sequencing Approach) ด้วยการจัดตั้งสถาบันทางการเมืองโดยโทมัส คาโรเธอร์ (Thomas Carothers) และกรอบการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยแบบค่อยเป็นค่อยไป (Gradualist/Transformist) เป็นกรอบการศึกษาที่ยอมรับการเรียนรู้ในหลักการประชาธิปไตยที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันในทุกกรณี จึงส่งเสริมสถานการณ์สันติภาพได้มากกว่าโดย ออล ทอร์ทควิสท์ (Olle Tornquist) และ คริสเตียน สโตกก์ (Kristian Stokke) ผลการศึกษา พบว่า ข้อตกลงหยุดยิงเป็นองค์ประกอบหนึ่งในทางสถาบันทางการเมืองที่ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยอย่างมีนัยสำคัญและไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับสันติภาพในสหภาพเมียนมา ในการเปรียบเทียบผลหลังการลงนามหยุดยิงระหว่างรัฐบาลเมียนมาและกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ พบว่ารัฐคะฉิ่นหลังยุติข้อตกลงหยุดยิง คุณค่าของความเป็นประชาธิปไตยภายในรัฐของกลุ่มชาติพันธุ์คะฉิ่นเติบโตขึ้น เนื่องด้วยเงื่อนไขภายในรัฐกลุ่มชาติพันธุ์คะฉิ่นที่มีความเป็นเอกภาพและการตระหนักในคุณค่าความเท่าเทียมกัน ในขณะที่รัฐกะเหรี่ยง ความแตกแยกภายในเป็นเงื่อนไขก่อนการลงนามข้อตกลงหยุดยิง เมื่อลงนามข้อตกลงหยุดยิงกลับไม่ได้เป็นสถาบันทางการเมืองที่สามารถส่งเสริมการรวมตัวและความเป็นประชาธิปไตยภายในรัฐกะเหรี่ยงได้
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This dissertation aims to evidence that democratization in Myanmar hardly occurred in linear process by establishing political institutions or election as in the normal process to fully-fledged democracy. The research questions are that how making of the ceasefire agreements between the Myanmar government and ethnic groups had influenced the process of democratic transition in the country; and also how the ceasefire agreements between the Myanmar government and Kachin state and between the Myanmar government and Karen state strengthened democracy within Kachin state and Karen state, respectively. The differences of democratic transitions between Kachin and Karen governments in the period of post- ceasefire agreement was also questioned. This study applied the theory of “Transition to Democracy” by Donald Share as an analytical framework. Donald Share described the democratic transition in Myanmar by means of partially shifting military control of the government to the civilian. To explain the democratic transition within Karen state and Kachin state, this study applied the “Sequencing and Gradualist/Transformist Approaches” as the framework. According to the Sequencing Approach, Thomas Carothers emphasized the significance of political institution as priority in the democratic transition, while according to the Gradualist/Transformist Approach, Olle Tornquist and Kristian Stokke emphasized more importance of the gradual reinforcement of the democratic values in numerous ways which depend very much on the characteristics of state and its precondition of democracy. Key findings revealed that the relation between the ceasefire agreement and the democratization in Myanmar were insignificantly relevant. In addition, ceasefire agreement did not associate directly to peace-building in Myanmar. By comparison, the transitions to democracy between Kachin state and Karen state unveiled two different results. In Kachin state, after cancelling the ceasefire agreement with the Myanmar government, the democratic value of the unity and equality, as the precondition of democracy, increased more awareness among Kachin communities. In Karen State, the precondition of democratization was a cleavage society within the state and it was found that the ceasefire agreement and the following political institution building could not strengthen the integration of all Karen populations and democratization in Karen state.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
โสภารัตน์, อรไท, "การหยุดยิงกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยของชนกลุ่มน้อยในเมียนมา กรณีศึกษา คะฉิ่น และกะเหรี่ยง" (2019). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 9452.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/9452