Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Selected factors related to depression of prisoners with methamphetamine dependence

Year (A.D.)

2019

Document Type

Thesis

First Advisor

เพ็ญพักตร์ อุทิศ

Faculty/College

Faculty of Nursing (คณะพยาบาลศาสตร์)

Degree Name

พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

พยาบาลศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2019.1005

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ เพศ อายุ ประวัติเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ประวัติดื่มแอลกอฮอล์ ระยะเวลาการต้องโทษ การเห็นคุณค่าในตนเอง การตีตราตนเอง การเผชิญความเครียด และการสนับสนุนทางสังคม กับภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีนเพศชายและหญิง อายุ 18 - 59 ปี ซึ่งถูกดำเนินคดีเข้ามาอยู่ในความควบคุมของเรือนจำ/ทัณฑสถาน เขตภาคเหนือตอนบน โดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 165 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบคัดกรองสารเสพติด (V.2) 2) แบบประเมินอาการทางจิต (BPRS) 3) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 4) แบบสอบถามวัดการเผชิญความเครียด 5) แบบสอบถามวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง 6) แบบสอบถามวัดการตีตราตนเอง 7) แบบสอบถามวัดการสนับสนุนทางสังคม และ 8) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า (BDI-IA) เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เครื่องมือชุดที่ 2 และ 4 - 8 มีค่าความเที่ยง สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .82, .87, .86, .82, .83 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์ สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล และสหสัมพันธ์เพียร์สัน สรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้ 1. ผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีนส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 33.9 มีภาวะซึมเศร้าในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาภาพรวมพบว่ามีภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง มาก และรุนแรง สูงถึงร้อยละ 52 2. การเผชิญความเครียด แบบมุ่งจัดการกับปัญหาโดยใช้ความสามารถของตนเอง แบบมุ่งจัดการกับปัญหาโดยอาศัยแหล่งสนับสนุนอื่น ๆ และแบบหลีกเลี่ยงปัญหา มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน (c2= 94.23; p<.05) 3. ระยะเวลาการต้องโทษ และการตีตราตนเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน (r = .446 และ .340; p<.05 ตามลำดับ) 4. อายุ การเห็นคุณค่าในตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน (r = -.292, -.404 และ -.396; p<.05 ตามลำดับ) ส่วน เพศ ประวัติเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ประวัติดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ต้องขังติดเมทแอมเฟตามีน

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purposes of this descriptive correlation research were: 1) to examine depression of prisoner with methamphetamine dependence, and 2) to study the relationships between selected factors including gender, age, history of illness with chronic disease, history of alcohol consumption, time of punishment, self-esteem, self-stigma, coping with stress, and social support with the depression of prisoners. A total sample of 165 prisoners, who met the inclusion criteria, was stratified random sampling from prisons/correctional located in upper north region. Research instruments consist of 1) The Addiction Scale (V.2), 2) The Psychiatric Assessment Scale (BPRS), 3) demographic data sheet, 4) The Coping Scale, 5) The Self-Esteem Scale, 6) The Self-Stigma Scale, 7) The Social support Scale, and 8) The Depression Scale (BDI-IA). All instruments were validated for content validity by 5 experts and tested for reliability. The Cronbach’s Alpha coefficient reliability of the 2nd, and 4th to 8th instrument was .82, .87, .86, .82, .83 and .91, respectively. Statistic techniques utilized in data analysis were percentage, mean, standard deviation, Chi-square, Point biserial correlation and Pearson’s Product Moment correlation. Findings were summarized as follow: 1. The margority of prisoners with methamphetamine dependence had moderate depression (33.9%). By overall most of them (52%) had depression in a moderate, high, and severe levels. 2. Coping by problem-solving with self-efficacy, by using other support resources, and avoidance coping were associated with depression among prisoners (c2= 94.23; p<.05). 3. Period of punishment and self-stigmatization was positively associated with depression among prisoners (r = .446 and .340; p<.05, respectively). 4. Age, self-esteem and social support had a negative correlation with depression among prisoners with methamphetamine dependence with (r = -.292, -.404 and -.396; p<.05, respectively). Gender, history of Illness, and history of alcohol consumption was not significantly correlated to depression among this population.

Included in

Nursing Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.