Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Intergenerational relationships and psychological distress of Thai older persons

Year (A.D.)

2019

Document Type

Thesis

First Advisor

วิราภรณ์ โพธิศิริ

Faculty/College

College of Population Studies (วิทยาลัยประชากรศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ประชากรศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2019.958

Abstract

การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับบุตรและภาวะปัญหาทางสุขภาพจิต รวมไปถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะปัญหาทางสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลชั้นทุติยภูมิจากการสำรวจผู้สูงอายุภายใต้โครงการการเปลี่ยนแปลงทางประชากรและความอยู่ดีมีสุขในบริบทสังคมสูงวัย พ.ศ. 2559 ซึ่งจัดทำโดยวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ที่มีบุตรมีชีวิตอย่างน้อย 1 คน จำนวนทั้งสิ้น 4,812 คน สำหรับการศึกษาในครั้งนี้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยทวินามลบที่มีผลกระทบจากศูนย์ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า มีผู้สูงอายุราวร้อยละ 59.93 ที่รายงานว่าตนมีปัญหาทางสุขภาพจิตอย่างน้อย 1 อาการ ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ผู้สูงอายุในกลุ่มนี้มีอาการโดยเฉลี่ยประมาณ 2.04 อาการ ในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับบุตร พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ราวร้อยละ 88.32 มีความสัมพันธ์กับบุตรอยู่ในระดับดี โดยผู้สูงอายุร้อยละ 47.90 มีบุตรที่มีความสัมพันธ์กันดีมาก และร้อยละ 2.58 เท่านั้นที่มีบุตรที่มีความสัมพันธ์กันไม่ดีเลย จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับบุตรและภาวะปัญหาทางสุขภาพจิต ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุเพศชายที่มีความสัมพันธ์กับบุตรในระดับดี และมีบุตรอย่างน้อย 1 คนที่มีความสัมพันธ์กันในระดับดีมาก มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับภาวะปัญหาทางสุขภาพจิต ในทุกแบบจำลอง ในขณะที่ ผู้สูงอายุเพศหญิงที่มีความสัมพันธ์กับบุตรในระดับดี มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับภาวะปัญหาทางสุขภาพจิต เฉพาะในแบบจำลองที่ 1 เท่านั้น เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะปัญหาทางสุขภาพจิต ภายหลังเพิ่มการควบคุมอิทธิพลของปัจจัยอื่น ๆ พบว่า ปัจจัยด้านสุขภาพ ได้แก่ การประเมินสุขภาพตนเอง และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานและขั้นสูง และปัจจัยการเกื้อหนุนระหว่างรุ่น ได้แก่ รูปแบบการอยู่อาศัย การให้เงินแก่บุตร เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับบุตรและภาวะปัญหาทางสุขภาพจิตด้วย นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยด้านประชากรและสังคม ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส การศึกษา เขตที่อยู่อาศัย ภูมิภาค ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ระดับรายได้ ความเพียงพอของรายได้ และปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะปัญหาทางสุขภาพจิต อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์ดังกล่าวมีความแตกต่างไปตามเพศของผู้สูงอายุด้วย

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This study aimed to investigate the older parents - adult child relationship and explore factors influencing the psychological distress of Thai older persons. The study used a data set from the 2016 survey of Population Change and Well-being on Aged Society Context, which was conducted by the College of Population Studies, A sample of 4,812 elders have with at least one adult child were selected for the survey. In this study, data analyzed by using descriptive statistics and Zero Inflated Negative Binomial regression (ZINB) analyses. The descriptive statistics results show that 59.93 percent of Thai elderly did experience any symptoms of psychological distress in the past month, with an average of 2.04 symptoms. And we found that 88.32 percent of the elderly have a good quality of older parents – adult child relationships; Also, we found that 47.90 percent of the elderly have the best relationship quality with at least one adult child. And 2.58 percent of the elderly have the worst relationship quality with at least one adult child. The regression results show that; for both males and females, who have a good quality of older parents – adult child relationships and only males, who have the best relationship quality with at least one adult child has negatively associated with the elderly's psychological distress outcomes. After controlling for other variables, this association was stronger for males than for females. The multivariate results, when holding all other variables constant show that health status and support exchange was associated with older parents - adult child relationships and the elderly's psychological distress outcomes. Also, the health status factors had the most influence on this association. Besides, we found that health status, support exchange, socio-demographic characteristics, economic status, and social participation are significantly associated with the elderly's psychological distress. This association also differs depending on the gender of the elderly.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.