Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Technology transfer readiness evaluation system for Thai food industry
Year (A.D.)
2019
Document Type
Thesis
First Advisor
รัฐ พิชญางกูร
Second Advisor
พักตร์ผจง วัฒนสิทธุ์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม
DOI
10.58837/CHULA.THE.2019.821
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากหน่วยงานวิจัยไปสู่ภาคอุตสาหกรรม ศึกษาตัวชี้วัดสำหรับการประเมินความพร้อมในการรับเทคโนโลยี พัฒนาระบบประเมินความพร้อมในการรับเทคโนโลยี และทดสอบการยอมรับการใช้งานระบบประเมินความพร้อมในการรับเทคโนโลยีและความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ โดยทำการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการทบทวนวรรณกรรมและสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องในเชิงลึก จำนวน 14 ราย เพื่อสังเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยี นำข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเชิงคุณภาพไปทำการพัฒนาเครื่องมือวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษาตัวชี้วัดสำหรับการประเมินความพร้อมในการรับเทคโนโลยี และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหาร จำนวน 200 ราย ทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจด้วยโปรแกรมเอสพีเอสเอส แล้วนำข้อมูลองค์ประกอบที่ได้จากการวิเคราะห์ไปทำการพัฒนาแบบจำลองการประเมินความพร้อมในการรับเทคโนโลยี โดยทำการให้น้ำหนักเกณฑ์ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 16 ราย เพื่อพัฒนาแบบจำลองการประเมินและทำการทดสอบโดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 ราย แล้วนำแบบจำลองการประเมินที่ได้ไปทำการพัฒนาโปรแกรมระบบประเมินในรูปแบบโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ และนำโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นไปทำการทดสอบการยอมรับใช้งานเทคโนโลยีด้วยทฤษฎีการยอมรับเทคโนโลยี กับกลุ่มผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวน 30 ราย และวิเคราะห์การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ด้วยแบบจำลองทางธุรกิจ ผลการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการทบทวนวรรณกรรมและสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยี สามารถแบ่งได้เป็น 7 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยเกี่ยวกับหน่วยงานวิจัย ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากภายนอก ปัจจัยด้านการบริหารและกลยุทธ์ ปัจจัยด้านการวิจัยและพัฒนา ปัจจัยด้านเทคโนโลยีและการผลิต ปัจจัยด้านการตลาด และ ปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ ผลการวิจัยเชิงปริมาณ จากแบบสอบถามและทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ พบว่าความสำเร็จในการรับเทคโนโลยีของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนั้น มีองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยหลัก6 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการวิจัยและพัฒนา นวัตกรรม และการผลิต ด้านการบริหารจัดการกลยุทธ์เพื่อรองรับธุรกิจเทคโนโลยี ด้านการดำเนินงานด้านธุรกิจเทคโนโลยี ด้านการจัดการภายในองค์กร ด้านการตลาดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ ด้านปัจจัยจากภายนอกองค์กร โดยทั้งหมดนี้ประกอบด้วยตัวชี้วัดย่อยจำนวน 41 ตัวชี้วัด การประเมินและทดสอบเกณฑ์ชองแบบจำลองมีความถูกต้องร้อยละ 90 และผลการทดสอบการยอมรับการใช้งานเทคโนโลยี พบว่านวัตกรรมระบบประเมินมีความพร้อมในการทำงานอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเฉพาะด้านประสิทธิภาพของ และมีการยอมรับนวัตกรรมระบบประเมินในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเฉพาะด้านความตั้งใจในการใช้งานโปรแกรม ระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ตามแนวคิดแบบจำลองทางธุรกิจ โดยใช้เงินลงทุน 302,000 บาท และสามารถคืนทุนได้ในเวลา 1.73 ปี
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objectives of the research are to study the factors influencing technology transfer process from the governmental research institutes to food manufacturers, to examine the indicators suitable for evaluating manufacturers’ technology transfer readiness, to develop the technology transfer readiness evaluation system, to test the acceptance of system and the commercial feasibility. The methodology applied in this research is of mixed method. The qualitative research was conducts by means of in-depth interviews with 14 experts to verify critical issues and factors affecting technology transfer process. The data collected from the interviews was analyzed and the relating factors were categorized. Questionnaire was developed based on data collected from prior stage. The feedbacks from 200 participants were then analyzed using SPSS. Outputs from quantitative analysis, accompanied with experts’ opinion regarding the difference of factors, was then used to develop a technology transfer readiness evaluation system. The system was validated by a group of stakeholders involved in technology transfer process. Finally, commercialization plan was formulated using Business Model Canvas. The results from qualitative study highlight 7 influencing factors for technology transfer process, namely, TLO factor, External support factor, Strategy and management factor, Research and development factor, Technology and manufacturing factor, Marketing factor, and Human resource factor. The exploratory factor analysis then reveals 6 major factors, which consist of 41 indicators, affecting technology transfer success as followed, Innovation-manufacturing-research and development factor, Strategic management factor, Technology business management factor, Internal management factor, Marketing and product development factor, and External factor. The evaluation system has 90% accuracy. The acceptance of innovation was conducted within the target group. The target group consisted of 6 representatives from government agencies and 24 enterprises. The benefits of using this innovative evaluation system was well perceived by target group. According to business model canvas model, the evaluation system is commercially feasible. The project requires Initial investment of 302,000 THB and has a payback period of 1.73 year.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ปานม่วง, กมล, "ระบบประเมินความพร้อมในการรับเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมอาหารของไทย" (2019). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 9197.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/9197