Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
ความชุกของพยาธิและโปรโตซัวในทางเดินอาหารและการระบุชนิดของพยาธิปากขอ พยาธิเส้นด้าย และเชื้อจีอาร์เดีย ในแมวในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประเทศไทย
Year (A.D.)
2019
Document Type
Thesis
First Advisor
Woraporn Sukhumavasi
Faculty/College
Faculty of Veterinary Science (คณะสัตวแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Pathology (fac. Veterinary Science) (ภาควิชาพยาธิวิทยา (คณะสัตวแพทยศาสตร์))
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Discipline
Veterinary Pathobiology
DOI
10.58837/CHULA.THE.2019.538
Abstract
A total of 835 fecal samples collected from client-owned and community cats between 2014 and 2016 were subjected to wet fecal smear and/or PBS-ethyl acetate and/or ZnSO4 centrifugal flotation. Ancylostoma spp. was the most common, 28.5%, followed by 6.7% Toxocara spp., 5.3% Cystoisospora spp., 4.4% Platynosomum fastosum, 2.5% Taenia taeniaeformis, 1.7% Strongyloides spp., 1.4% Spirometra spp., 1.3% Dipylidium caninum, 0.1% Eucoleus aerophilus and 0.1% Opisthorchis-like trematode egg. For retroviruses, FeLV and FIV were positive 7.1% (19/269) and 5.2% (14/269), respectively, without association with endoparasitic infection. Based on Giardia copro-antigen detection test, 3.9% (9/233) of tested cats were positive. From multivariable logistic regression, ability to access outdoors and having segment or adult worm in feces were significantly associated with Ancylostoma spp. infection. From a total of 207 hookworm positive sediment samples were subjected to PCR amplifying ITS1, 5.8S and partial ITS2 regions, 59.9% (124/207) was positive and submitted to sequencing. Out of 64 sequences obtained, 98.4% (63/64) were identified as A. ceylanicum and 1.6% (1/64) was found as A. tubaeforme. A. ceylanicum-positive samples were selected to amplify COX1 gene and the result suggested that A. ceylanicum in this study was most likely have a low potential in zoonotic transmission. For Giardia molecular identification, a total of 304 DNA samples was grouped in a pool of 4 samples and were tested with nested PCR targeting SSU rRNA gene of Giardia. Only 1 sample was positive and Giardia assemblage D was confirmed. Strongyloides felis was identified base on distinct post vulva constriction. Ultrastructure of en face views revealed hexagonal stoma surrounded by circumorally elevations in both male and female free-living adult. Characterization of partial 18s rRNA including hypervariable region I demonstrated cat threadworm was molecularly distinguishable from other species but still grouped in S. stercoralis and S. procyonis clade.
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
การศึกษาในครั้งนี้ ได้ทำการเก็บตัวอย่างมูลแมว จำนวน 835 ตัวอย่าง จากแมวที่มีเจ้าของและแมวที่อาศัยอยู่รอบชุมชน ในระหว่างปี พ.ศ. 2557 – 2559 นำมาตรวจโดยกล้องจุลทรรศน์ ด้วยเทคนิคการป้ายมูลโดยตรง เทคนิคทำให้ไข่ปรสิตจมโดยการปั่นเหวี่ยงโดยใช้สารละลาย PBS และ ethyl acetate เทคนิคทำให้ไข่ปรสิตลอยตัวด้วยวิธีการปั่นเหวี่ยงโดยใช้สารละลายซิงค์ซัลเฟต ผลการตรวจพบความชุกของพยาธิปากขอ มากที่สุดถึงร้อยละ 28.5 ตามด้วยพยาธิไส้เดือนร้อยละ 6.7 เชื้อบิดร้อยละ 5.3 พยาธิใบไม้ในท่อน้ำดีร้อยละ 4.4 พยาธิตืดแมวร้อยละ 2.5 พยาธิเส้นด้ายร้อยละ 1.7 พยาธิตืดปลาร้อยละ 1.4 พยาธิตืดหมัดร้อยละ 1.3 พยาธิเส้นผมร้อยละ 0.1 และ พยาธิใบไม้ในตับร้อยละ 0.1 จากการตรวจหาการติดเชื้อไวรัส FeLV และ FIV พบว่าแมวร้อยละ 7.1 (19/269) และร้อยละ 5.2 (14/269) ให้ผลบวกต่อเชื้อไวรัส FeLV และ FIV ตามลำดับ โดยไม่พบความสัมพันธ์กับการติดเชื้อปรสิตในทางเดินอาหาร นอกจากนี้ จากการตรวจหาโปรตีนของเชื้อจีอาร์เดียร์ด้วยชุดทดสอบ พบว่าร้อยละ 3.9 (9/233) ให้ผลบวก การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคแบบหลายตัวแปร พบว่า ความสามารถในการออกนอกบ้านและการพบพยาธิปล้องสุกหรือตัวเต็มวัยในมูล เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการติดพยาธิปากขอ ตัวอย่างที่ตรวจพบไข่พยาธิปากขอ จำนวน 207 ตัวอย่าง ได้ตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรส โดยเพิ่มจำนวนจีน ITS1, 5.8S และ ITS2 พบว่าให้ผลบวก ร้อยละ 59.9 (124/207) และผลการวิเคราะห์ลำดับเบสจำนวน 64 ตัวอย่าง พบว่าเป็นพยาธิปากขอชนิด Ancylostoma ceylanicum 63 ตัวอย่าง และชนิด A. tubaeforme 1 ตัวอย่าง จากการตรวจเพิ่มเติมด้วยจีน COX1 พบว่า พยาธิปากขอชนิด A. ceylanicum จัดอยู่คนละกลุ่มกับที่พบในมนุษย์ นอกจากนี้ตัวอย่าง DNA ที่สกัดได้จากมูลแมวจำนวนทั้งสิ้น 304 ตัวอย่าง ได้นำมารวมกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 ตัวอย่าง จากนั้นตรวจหาสารพันธุกรรมชองเชื้อจีอาร์เดียร์ ด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรส โดยเพิ่มจำนวนจีน SSU rRNA พบว่า มีเพียง 1 ตัวอย่างที่ให้ผลบวก และตัวอย่างดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่ม assemblage D พยาธิเส้นด้ายได้รับการวินิจฉัยเพิ่มเติมว่าเป็นชนิด Strongyloides felis โดยพบลักษณะการคอดเข้ามาของลำตัวบริเวณท้ายรูเปิดช่องคลอด การศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน พบว่า รูปร่างของปากมีลักษณะช่องเปิดเป็นหกเหลี่ยมและถูกล้อมรอบด้วยขอบปากที่ยกนูนขึ้นมาโดยรอบ ทั้งในตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมีย จากการตรวจด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอเรส โดยเพิ่มจำนวนจีน 18s rRNA ร่วมกับการวิเคราะห์ลำดับเบสส่วน hypervariable region I พบว่า มีลำดับเบสที่แตกต่างจากพยาธิเส้นด้ายตัวอื่นในฐานข้อมูล แต่ยังคงอยู่ในกลุ่มของพยาธิเส้นด้ายชนิด S. stercoralis และ S. procyonis
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
Jitsamai, Wanarit, "Prevalence of enteric helminths and protozoa and identification of hookworm, threadworm and giardia spp. In cats in Bangkok and vicinity, Thailand" (2019). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 8914.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/8914