Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

ลักษณะทางจุลทรรศน์ อณูโมเลกุล และปริมาณวิเคราะห์ฟลาโวนอยด์ ของพืชสกุลชงโค และมาตรฐานของใบส้มเสี้ยว

Year (A.D.)

2019

Document Type

Thesis

First Advisor

Chanida Palanuvej

Second Advisor

Nijsiri Ruangrungsi

Third Advisor

Kanchana Rungsihirunrat

Faculty/College

College of Public Health Sciences (วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข)

Degree Name

Doctor of Philosophy

Degree Level

Doctoral Degree

Degree Discipline

Public Health Sciences

DOI

10.58837/CHULA.THE.2019.490

Abstract

There are more than 40 Bauhinia species throughout Thailand. Many pharmacologically active compounds have been reported, particularly flavonoids such as quercetin and its glycoside (quercitrin). This study aimed to characterize 20 Bauhinia species throughout Thailand using microscopic, molecular analysis as well as quercetin and quercitrin quantification. The pharmacognostic specification of B. malabarica leaf which has been used in Thai’s remedies was established. Twenty Bauhinia species leaves were collected from 3 places throughout Thailand. The lamina of fresh mature leaves were microscopically evaluated for the stomatal number, stomatal index, palisade ratio, trichome number, trichome index, and epidermal cell area. The anatomy of midrib transverse sections were illustrated. ISSR-PCR was performed to classify these Bauhinia species. Preliminary quantification of quercetin and quercitrin in 20 Bauhinia species were done using RP-HPLC. Dried mature leaves were exhaustively extracted with 95% ethanol using Soxhlet apparatus. The extracts were injected to Inersil® ODS-3 C18 column and eluted by 0.5% phosphoric acid and methanol (1 : 1) at 35 ºC. Photo-diode array detector was set at 255 nm. Pharmacognostic specification of B. malabarica dried leaves collected from 15 places throughout Thailand was determined for the contents of loss on drying, water, total ash, acid insoluble ash, extractive matter as well as active compounds (quercetin and quercitrin). Chemical fingerprint of the ethanolic extracts was performed by TLC. All twenty Bauhinia species showed paracytic stomata type. B. aureifolia, B. bracteata, B. integrifolia, B, lakhonensis, B. purpurea, B. scandens, B. strychnifolia, B. variegata, and B. winitii were amphistomatic. Unicellular and multicellular nonglandular trichomes were found except B. integrifolia, B. pulla, B. scandens, B. sirindhorniae, B. strychnifolia, and B. winitii contained no trichomes. B. winitii showed two layers of palisade cells at upper epidermis. B. purpurea displayed the highest numbers of stomata (1120 – 1208 per mm2). B. saccocalyx had trichome number upto 200 per mm2 of lower epidermis. The anatomical characteristics of the midribs were illustrated. Their uniqueness could be used for species identification. Six ISSR primers produced 100% polymorphic DNA bands. A dendrogram generated by UPGMA could classify Bauhinia species in this study especially B. malabarica. Phytochemical analysis revealed quercetin and/or quercitrin contents in dried leaves of these 20 Bauhinia species. The highest contents of quercetin and quercitrin were found in B. malabarica. Pharmacognostic specification of B. malabarica dried leaves revealed the loss on drying, total ash, acid insoluble ash, and water contents should be not more than 8.00, 7.08, 1.79, and 8.28 g/100 g while ethanol and water soluble extractive matters should be not less than 13.78 and 16.47 g/100 g of dried leaves respectively. TLC-fingerprint was demonstrated. The contents of quercetin and quercitrin were 0.1796 ± 0.0678 and 0.3833 ± 0.2138 g/100 g of dried leaves, respectively.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

สกุลชงโคพบได้มากกว่า 40 สายพันธุ์ในประเทศไทย พืชสกุลนี้ใช้เป็นสมุนไพรในตำรับยาพื้นบ้านมายาวนาน มีการรายงานว่าพบสารเควอซีติน และเควอซิตรินในพืชสกุลนี้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินลักษณะทางจุลทรรศน์ และอณูโมเลกุล รวมถึงการหาปริมาณสารเควอซีติน และเควอซิตริน ของพืชสกุลชงโค 20 สายพันธุ์ และจัดทำข้อกำหนดทางเภสัชเวทของใบส้มเสี้ยวที่ใช้ในตำรับยาไทย โดยเก็บใบเพสลาดของพืชสกุลชงโค 20 สายพันธุ์ สายพันธุ์ละ 3 แหล่ง มาศึกษาลักษณะทางจุลทรรศน์ ได้แก่ ค่าคงที่ของแผ่นใบ (จำนวนปากใบ ค่าดัชนีปากใบ อัตราส่วนเซลล์รั้ว จำนวนขน ค่าดัชนีขน และค่าพื้นที่เซลล์ผิว) และภาคตัดขวางของเส้นกลางใบ ประเมินลักษณะทางอณูโมเลกุลโดยใช้เครื่องหมายไอเอสเอสอาร์ วิเคราะห์หาปริมาณสารเควอซิติน และเควอซิตรินในพืชสกุลชงโคทั้ง 20 สายพันธุ์ โดยใช้ชุดสกัด soxhlet สกัดใบแห้งด้วยเอทานอล แยกสารโดยวิธีโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง ที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส โดยใช้คอลัมน์ Inersil® ODS-3 C18 เป็นเฟสคงที่ และใช้สารละลายของกรดฟอสฟอริก (0.5%) กับเมทานอล ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 เป็นเฟสเคลื่อนที่ ตรวจวัดปริมาณเควอซิติน และเควอซิตรินด้วยดีเทคเตอร์ชนิดโฟโต้ไดโอดอาเรย์ที่ 255 นาโนเมตร จัดทำข้อกำหนดทางเภสัชเวทของใบส้มเสี้ยวที่เก็บจาก 15 แหล่งทั่วประเทศ นำมาวิเคราะห์หาปริมาณน้ำหนักที่หายไปเมื่อทำให้แห้ง ปริมาณเถ้ารวม เถ้าที่ไม่ละลายในกรด ปริมาณความชื้น ปริมาณสิ่งสกัดด้วยน้ำ ปริมาณสิ่งสกัดด้วยเอทานอล ปริมาณสารสำคัญ (เควอซิติน และเควอซิตริน) และจัดทำลายพิมพ์ทางเคมีของสารสกัดเอทานอลของใบส้มเสี้ยวโดยวิธีโครมาโทกราฟีแบบชั้นบาง ผลการศึกษาพืชสกุลชงโคทั้ง 20 สายพันธุ์ทางจุลทรรศน์พบว่า ทุกสายพันธุ์มีปากใบชนิดพาราไซติก ใบไม้สีทอง แสลงพันเถา เถาไฟ ส้มเสี้ยวเถา ชงโค เถากระไดลิง ย่านางแดง เสี้ยวดอกขาว และคิ้วนาง พบปากใบทั้งสองด้าน ชนิดขนที่พบเป็นขนที่ไม่มีต่อมทั้งขนเซลล์เดียวและขนหลายเซลล์ ยกเว้น เถาไฟ แสลงพัน เถากระไดลิง สิรินธรวัลลี ย่านางแดง และคิ้วนางไม่พบขน คิ้วนางพบเซลล์รั้วสองชั้นบนผิวใบด้านบน ชงโคพบปากใบจำนวนมากที่สุด (1120 – 1208 ต่อตารางมิลลิเมตร) และเสี้ยวป่าพบจำนวนขนมากถึง 200 เส้นในหนึ่งตารางมิลลิเมตรของผิวใบด้านล่าง ลักษณะทางกายวิภาคของภาคตัดขวางของเส้นกลางใบแสดงในรูปแบบลายเส้น ซึ่งสามารถนำมาใช้ระบุลักษณะในแต่ละสายพันธุ์ได้ การประเมินทางอณูโมเลกุลด้วยไพรเมอร์ไอเอสเอสอาร์ทั้งหมด 20 ไพรเมอร์ พบ 6 ไพรเมอร์ที่ให้แถบดีเอ็นเอที่แตกต่างกันทุกสายพันธุ์ ซึ่งการศึกษานี้สามารถใช้ระบุสายพันธุ์ของพืชสกุลชงโคได้ โดยเฉพาะส้มเสี้ยว การวิเคราะห์หาปริมาณเควอซิติน และเควอซิตรินในใบของพืชสกุลชงโคทั้ง 20 สายพันธุ์พบว่า ในใบส้มเสี้ยวพบปริมาณของเควอซิติน และเควอซิตรินมากที่สุด ข้อกำหนดทางเภสัชเวทของใบส้มเสี้ยว ได้แก่ น้ำหนักที่หายไปเมื่อทำให้แห้ง ปริมาณเถ้ารวม เถ้าที่ไม่ละลายในกรด ปริมาณความชื้น ไม่มากกว่า 8.00, 7.08, 1.79 และ 8.28 กรัมต่อ 100 กรัมโดยน้ำหนักแห้ง ปริมาณสิ่งสกัดด้วยเอทานอล และปริมาณสิ่งสกัดด้วยน้ำ ไม่น้อยกว่า 16.47 และ 13.78 กรัมต่อ 100 กรัมโดยน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ พบปริมาณสารเควอซีตินและเควอซิตรินเท่ากับ 0.1796 ± 0.0678 และ 0.3833 ± 0.2138 กรัมต่อ 100 กรัมโดยน้ำหนักแห้ง​

Included in

Public Health Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.