Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

การใช้แนวคิดแบบรวบรัดในการตัดสินความน่าเชื่อถือของข้อมูลสุขภาพที่ปรากฏบนเฟซบุ๊ก

Year (A.D.)

2019

Document Type

Thesis

First Advisor

Duang-kamol Chartprasert

Faculty/College

Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)

Degree Name

Doctor of Philosophy

Degree Level

Doctoral Degree

Degree Discipline

Communication Arts

DOI

10.58837/CHULA.THE.2019.154

Abstract

Facebook users worldwide had been facing challenges of information credibility. This study aimed to address this issue among Thai Facebook users by focusing on health information in particular, through a lens of heuristic approach. Data were collected from 50 informants by in-depth interviews and 480 responses from online surveys. All participants were at least 18 years old with a minimum of one year experience in using Facebook. The results revealed three different processes and five heuristics, namely, reputation heuristic, authority heuristic, expectancy violation heuristic, persuasive intense heuristic, and bandwagon heuristics that participants adopted when making a credibility judgment of health information on Facebook. Persuasive intense heuristic was found to be most commonly used, followed by authority heuristic, reputation heuristic, expectancy violation heuristic, and bandwagon heuristic, respectively. Additionally, the empirical findings yielded the difference in using each group of heuristics among Thai Facebook who were different in term of health motivation, perceived seriousness of health issue, health literacy, health e-mavens, and holistic worldview.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

ผู้ใช้เฟซบุ๊กทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ปรากฏบนเฟซบุ๊ก การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษากระบวนการตัดสินความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ปรากฏบนเฟซบุ๊กของผู้ใช้เฟซบุ๊กในประเทศไทยโดยเลือกศึกษาข้อมูลสุขภาพเป็นการเฉพาะและใช้แนวคิดเชิงรวบรัดเป็นกรอบแนวทางในการศึกษา ผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บข้อมูลจากผู้ใช้งานเฟซบุ๊กชาวไทยจำนวน 50 คน และใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูลจำนวน480 ชุด ทั้งนี้ ผู้ให้ข้อมูลคือผู้ใช้เฟซบุ๊กชาวไทยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และมีประสบการณ์การใช้เฟซบุ๊กอย่างน้อย 1 ปี ผลการศึกษาพบว่าผู้ใช้เฟซบุ๊กในประเทศไทยมีกระบวนการในการตัดสินความน่าเชื่อถือของข้อมูลสุขภาพที่ปรากฏบนเฟซบุ๊ก 3 ลักษณะใหญ่ ๆ และพบว่ามีการอ้างอิงตัวชี้นำแบบรวบรัด (heuristic cues) ลักษณะต่างๆ 5 กลุ่ม อันได้แก่ กลุ่มตัวชี้นำที่แสดงถึงความมีชื่อเสียงของผู้ให้ข้อมูล (reputation heuristic) กลุ่มตัวชี้นำที่แสดงความมีอำนาจในการให้ข้อมูล (authority heuristic) กลุ่มตัวชี้นำที่ขัดแย้งกับความคาดหวังของผู้รับสาร (expectancy violation heuristic) กลุ่มตัวชี้นำที่แสดงความมุ่งมั่นในการโน้มน้าวใจ (persuasive intense heuristic) และกลุ่มตัวชี้นำที่อ้างอิงความเห็นของผู้อื่น (bandwagon heuristic)โดยกลุ่มตัวชี้นำที่แสดงความมุ่งมั่นในการโน้มน้าวใจคือกลุ่มที่ถูกอ้างอิงในการตัดสินใจมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มตัวชี้นำที่แสดงความมีอำนาจในการให้ข้อมูล กลุ่มตัวชี้นำที่แสดงความมีชื่อเสียงของผู้ให้ข้อมูล กลุ่มตัวชี้นำที่ขัดแย้งกับความคาดหวังของผู้รับสาร และกลุ่มตัวชี้นำที่อ้างอิงความเห็นของผู้อื่น ตามลำดับ นอกจากนี้ ผลการศึกษายังพบว่าผู้ใช้เฟซบุ๊กที่มีความแตกต่างกันในด้านแรงจูงใจด้านสุขภาพ การรับรู้ถึงความรุนแรงของประเด็นสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความเป็นผู้รู้ด้านสุขภาพออนไลน์ และแนวคิดการมองโลกแบบองค์รวม มีการอ้างอิงตัวชี้นำในแต่ละกลุ่มเพื่อตัดสินความน่าเชื่อถือของข้อมูลสุขภาพที่ปรากฏบนเฟซบุ๊กแตกต่างกัน

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.