Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2022
Document Type
Independent Study
First Advisor
ณัชพล จิตติรัตน์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2022.181
Abstract
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กำหนดให้สถาบันการเงินมีหน้าที่ในการจัดให้ลูกค้าแสดงตนและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าในส่วนผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง แต่การปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากการระบุหลักเกณฑ์ในกฎหมายไม่ได้กำหนดรายละเอียดการตรวจสอบข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงให้ชัดเจน ยากต่อการทำความเข้าใจ ข้อมูลที่สถาบันการเงินค้นหามาจากระบบเพื่อการตรวจสอบนั้น ไม่ทราบว่าเป็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือไม่ ตรวจสอบจนได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอแล้วหรือยัง ยากต่อการตรวจสอบ และปัจจุบันอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ต่างอาศัยนิติบุคคลบังหน้าในการกระทำความผิด เพราะมีโครงสร้างธุรกิจที่ซับซ้อน ข้อแนะนำที่ 24 ของ FATF : แต่ละประเทศต้องดำเนินการให้มั่นใจว่ามีข้อมูลเพียงพอ ถูกต้อง และทันต่อเวลา เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของผู้รับผลประโยชน์และเกี่ยวกับการควบคุมนิติบุคคล โดยเป็นข้อมูลที่หน่วยงานที่มีอำนาจสามารถขอรับหรือเข้าถึงได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ ประเทศดังกล่าวจะต้องใช้มาตรการต่างๆ ที่มีประสิทธิผลมาดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีการนำบุคคลหรือตราสารไปใช้เพื่อการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และแต่ละประเทศต้องพิจารณาใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้สถาบันการเงิน สามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงและข้อมูลเกี่ยวกับการควบคุมได้ ผลการประเมินของ The Asia/Pacific Group on Money Laundering : ได้ระบุว่า ประเทศไทยยังมีการตรวจสอบข้อมูลของลูกค้าไม่เพียงพอ แนวทางปฏิบัติในเรื่องการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า ของสถาบันการเงินขาดความชัดเจน สถาบันการเงินขาดความรู้ความเข้าใจความเสี่ยงส่งผลให้การปฏิบัติตามกฎหมายไม่ครบถ้วน ขาดกฎหมายหรือข้อกำหนดที่ให้นิติบุคคลต้องแจ้งข้อมูลผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง กับหน่วยงานราชการอื่น และไม่มีการกำหนดมาตรมาตรการลงโทษทางปกครอง แม้ว่าประเทศไทย ได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติผู้รับผลประโยชน์แท้จริงแล้ว แต่กฎหมายดังกล่าวยังขาดความชัดเจนในรายละเอียดเกี่ยวกับคำนิยามของผู้มีอำนาจควบคุม จนอาจทำให้ไม่สามารถระบุตัวตนของผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงตามเจตนารมณ์ที่แท้จริงของกฎหมายได้ จึงขอเสนอแนะให้ สำนักงาน ปปง. ดำเนินการ 1. จัดทำกฎหมายลำดับรอง เพื่อกำหนดคำนิยาม ของผู้มีอำนาจควบคุมให้ชัดเจน ตามตัวอย่างหลักเกณฑ์ของประเทศสิงคโปร์ ที่กำหนดคำว่าบุคคลหรือนิติบุคคลที่มีนัยสำคัญ คือ ผู้มีอำนาจควบคุมของ บริษัท หรือ บริษัท ต่างประเทศถ้าบุคคลหรือนิติ บุคคล มีลักษณะดังนี้ (ก) มีสิทธิแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการทั้งทางตรงและทางอ้อมหรือถือครองโดยบุคคลเทียบเท่าในบริษัทหรือบริษัท ต่างชาติเสียงข้างมากในที่ประชุมกรรมการหรือเทียบเท่าบุคคลในทุกเรื่องหรือสาระสำคัญ (ข) ถือหุ้นทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละ 25 ของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงเรื่องที่สมาชิกลงมติเลือก หรือ บุคคลเทียบเท่าในบริษัทหรือบริษัทต่างประเทศ หรือ (ค) สิทธิในการใช้สิทธิหรือการใช้สิทธิจริงมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญหรือการควบคุมบริษัทหรือบริษัทต่างชาติและฮ่องกง 2. ปรับปรุงหลักเกณฑ์กฎหมาย รวมถึงแนวปฏิบัติในการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า ของสถาบันการเงินให้ชัดเจน และเสริมสร้างความเข้าใจด้วยการจัดทำตัวอย่างการระบุรายละเอียดในแบบฟอร์มให้มีความเข้าใจมากขึ้น
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
วิระยกุลรัตน์, อัชฌารินทร์, "ปัญหา การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าในส่วนข้อมูลผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงของบัญชีนิติบุคคลในธุรกิจสถาบันการเงินไทย" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 8263.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/8263