Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2022
Document Type
Independent Study
First Advisor
ศารทูล สันติวาสะ
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2022.168
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 คุ้มครองเงินฝากไม่เกิน 1 ล้านบาท ไม่ได้สัดส่วนกับนโยบายมาตรการส่งเสริมการออม ในการวางแผนเกษียณอายุ ในอดีตประเทศไทยไม่มีระบบคุ้มครองเงินฝากที่ชัดเจน การดูแลผู้ฝากเงินขึ้นกับนโยบายของทางการในแต่ละสถานะการณ์ จนในปี 2540 ประเทศไทยประสบวิกฤติการณ์ทางการเงินขั้นรุนแรง โดยเฉพาะการเกิดปัญหาฐานะหรือการดำเนินงานของธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2540 คณะรัฐมนตรีจึงได้ประกาศให้ความคุ้มครองผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้เต็มจำนวน โดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้รับหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันการเงินที่ประสบปัญหา ธนาคารแห่งประเทศไทย กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลกได้เสนอมาตราการจัดการกับปัญหาเรื่องความเชื่อมั่นของผู้ฝากเงินซึ่งก็คือ “ระบบคุ้มครองเงินฝาก” วงเงินคุ้มครองที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 จากคุ้มครองเต็มทั้งจำนวนแต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท ไม่เกิน 50 ล้านบาท และ ไม่เกิน 10 ล้านบาท จนกระทั้งบังคับใช้วงเงินคุ้มครอง 1 ล้านบาท ในวันที่ 11 สิงหาคม 2564 ผู้ฝากสามารถขอรับคืนได้จากกระบวนการชำระบัญชี ปัจจุบันสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 12 ล้านคน คิดเป็นอัตราร้อยละ 18 ของประชาการทั้งหมด โดยคาดการณ์ว่าในปี 2565 ประเทศไทยจะเป็นสังคม “สูงอายุอย่างสมบูรณ์” รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังจึงมีโนบายในการจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เพื่อเป็นช่องทางการออมขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้ที่ยังไม่ได้รับความคุ้มครองเพื่อการชราภาพ ให้ได้รับผลประโยชน์ในรูปบำนาญอันทำให้แรงงานนอกระบบได้รับการดูแลจากภาครัฐ โดยกลุ่มที่ยังไม่มีระบบสวัสดิการรองรับในวัยเกษียณอายุ หรือการวางแผนเกษียณ เมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายที่ใช้หลังเกษียณ ต้องมีเงินออมหลังเกษียณอายุจำนวนเงิน 2,710,723.20 บาท ในช่วงระยะเวลา 20 ปี การศึกษานี้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการบทบัญญัติกฎหมาย บทความ วารสาร สิ่งตีพิมพ์ และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสื่อข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต (Internet) ภาษาไทย เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเสนอแนวทางและข้อควรพิจารณาในการพัฒนากฎหมาย เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบสถาบันการเงิน ทำให้ส่งเสริมการออมในประเทศ จากการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 คุ้มครองเงินฝากไม่เกิน 1 ล้านบาท ไม่ได้สัดส่วนกับนโยบายมาตรการส่งเสริมการออม และจากการคำนวณตามแผนการออมของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือแผนการออมของสถาบันการเงิน เช่นรูปแบบการออมเพื่อการเกษียณใน “กองทุนรวม” ต่างๆ ต้องวางแผนการสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ ต้องมีเงินออม 5,000,0000 บาท
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
จันทรเศรษฐเลิศ, ศรัทธา, "ความไม่สอดคล้องของการกำหนดวงเงินคุ้มครองเงินฝากตามพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 กับมาตรการส่งเสริมการออมเกษียณอายุ" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 8250.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/8250