Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2022
Document Type
Independent Study
First Advisor
ณัชพล จิตติรัตน์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2022.162
Abstract
ดอกไม้เพลิงเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มอบความบันเทิงแก่ผู้ใช้งานและผู้รับชมมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ผ่านความงดงามทางแสงสีเสียง อย่างไรก็ตาม ความสวยงามของดอกไม้เพลิงนั้นมีความอันตรายที่ซ่อนอยู่ ดอกไม้เพลิงจึงเป็นหนึ่งในวัตถุอันตรายที่รัฐจำเป็นต้องเข้าไปควบคุมการบริโภคและการจัดจำหน่าย เนื่องจากหากมีการปล่อยให้ใช้ดอกไม้เพลิงได้อย่างอิสระ จะนำมาซึ่งผลกระทบต่อสาธารณะ ไม่ว่าจะก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง มลพิษทางอากาศ และความเสียหายจากการระเบิดและความร้อนซึ่งเป็นเหตุอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน ดังนั้น รัฐจึงต้องจำกัดสิทธิเสรีภาพในการบริโภคและการจัดจำหน่ายดอกไม้เพลิงของปัจเจกชนเพื่อประโยชน์สาธารณะ แม้ประเทศไทยจะมีมาตรการในการควบคุมการบริโภคและการจัดจำหน่ายดอกไม้เพลิงอย่างเข้มข้นผ่านระบบการขออนุญาต โดยเฉพาะการขออนุญาตเป็นผู้ค้าดอกไม้เพลิง ผู้ประสงค์จะจัดจำหน่ายดอกไม้เพลิงต้องยื่นขออนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ รวมทั้งมีการกำหนดมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของร้านค้าดอกไม้เพลิง ขณะที่ดอกไม้เพลิงที่ยิงขึ้นสู่อากาศนั้น ผู้ที่ประสงค์จะจุดก็ต้องขออนุญาตต่อผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอท้องที่ อย่างไรก็ตาม ตลอดหลายปีที่ผ่านมา พบว่าปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้ถูกคลี่คลายดังที่ปรากฎในหน้าหนังสือพิมพ์อยู่บ่อยครั้ง ดังนั้น มาตรการทางภาษีโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษีสรรพสามิต จึงเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่มีความน่าสนใจในการนำมาปรับใช้เพื่อการควบคุมการบริโภคและการจัดจำหน่ายดอกไม้เพลิง เนื่องจากภาษีสรรพสามิตเป็นภาษีที่มีการเก็บอย่างเฉพาะเจาะจงกับบางสินค้าที่รัฐเห็นว่าเป็นสินค้าที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และเป็นสินค้าที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งดอกไม้เพลิงก็เป็นสินค้าที่มีลักษณะเช่นว่านั้น ดังนั้นรัฐควรลดการบริโภคดังกล่าวผ่านกลไกทางภาษีสรรพสามิต และเพื่อสะท้อนถึงต้นทุนภายนอกที่รัฐต้องจ่ายเพื่อดูแลสุขภาพของประชาชน ประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐเพนซิลเวเนีย และประเทศจีนเป็นตัวอย่างประเทศที่มีการปรับใช้มาตรการทางภาษีเพื่อควบคุมการบริโภคและการจัดจำหน่ายดอกไม้เพลิง และมีการใช้ระบบขออนุญาตสำหรับผู้จัดจำหน่ายดอกไม้เพลิงสำหรับผู้บริโภค รวมทั้งมีการกำหนดมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของผู้จัดจำหน่ายดอกไม้เพลิง หากประเทศไทยนำมาตรการทางภาษีของต่างประเทศมาปรับใช้เพื่อควบคุมการบริโภคและการจัดจำหน่ายดอกไม้เพลิง โดยการเพิ่มดอกไม้เพลิงเข้าไปในบัญชีพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้ายพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 จะสอดคล้องกับหลักการบริหารภาษีที่ดี สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของภาษีสรรพสามิต และยังสอดคล้องกับหลักเศรษฐศาสตร์อีกด้วย เนื่องจากส่งผลให้ความต้องการในสินค้าประเภทดอกไม้เพลิงมีปริมาณลดลงจากการที่ทั้งผู้บริโภคและผู้จัดจำหน่ายมีต้นทุนในดอกไม้เพลิงที่สูงขึ้น
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
คำสวัสดิ์, ภัทร, "มาตรการทางภาษีเพื่อควบคุมการบริโภคและการจัดจำหน่ายดอกไม้เพลิง" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 8244.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/8244