Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2022
Document Type
Independent Study
First Advisor
ศารทูล สันติวาสะ
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2022.161
Abstract
เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการกำหนดมาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาทักษะอาชีพในกรณีการกำหนดค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าใช้จ่ายในการเรียนที่รวมถึงการเรียนรูปแบบออนไลน์ ผู้วิจัยทำการศึกษาด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยการศึกษา รวบรวมข้อมูลกฎหมาย รวมถึงข้อมูลทางด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในต่างประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว นำมาวิเคราะห์ปัญหา ข้อจำกัด และแนวทางในการประยุกต์หลักเกณฑ์ดังกล่าวกับบริบทประเทศไทย จากการศึกษามาตรการปัจจุบันของประเทศไทยพบว่า ประเทศไทยมีการสนับสนุนผ่านภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยนายจ้างที่เป็นบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมพนักงานมาหักลดหย่อนภาษีได้ แต่มาตรการดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักความเสมอภาคทางภาษีอากร และไม่สอดคล้องนิยามการพัฒนาฝีมือแรงงานตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ตลอดจนไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยีในปัจจุบัน มาตรการที่มีอยู่จึงไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการส่งเสริมพัฒนาทักษะอาชีพของแรงงานไทย ผู้วิจัยได้ทำการศึกษามาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะอาชีพในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา และประเทศสิงคโปร์ พบว่าทั้ง 3 ประเทศให้การสนับสนุนผ่านภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีการกำหนดหลักเกณฑ์ร่วมกันที่สำคัญคือมาตรฐานคุณภาพหลักสูตรที่เรียนและความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรที่เรียนและอาชีพที่ผู้เสียภาษีประกอบ รวมไปถึงหลักเกณฑ์เฉพาะที่ยกมาวิเคราะห์ ได้แก่ การกำหนดช่วงอายุที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีของประเทศแคนาดา การอนุญาตให้ใช้ค่าใช้จ่ายในการเรียนเพื่อเปลี่ยนสาขาอาชีพภายในระยะเวลา 2 ปีของประเทศสิงคโปร์ และการกำหนดเพดานรายได้สุทธิสูงสุดที่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความสอดคล้องกับบริบทปัญหาและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในสังคมปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทักษะอาชีพของแรงงานไทยอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน จึงควรเพิ่มเติมมาตรการทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยกำหนดเป็นค่าลดหย่อนภาษีเงินได้และจำเป็นต้องวางหลักเกณฑ์การควบคุมคุณภาพครอบคลุมไปถึงการเรียนรูปแบบออนไลน์ซึ่งเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับลักษณะการใช้ชีวิตของประชากรวัยทำงานในปัจจุบันด้วย ตลอดจนพิจารณาหลักเกณฑ์ตามสภาพสังคมในปัจจุบัน โดยพิจารณาต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์และประโยชน์ของมาตรการเป็นสำคัญ
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ปักษีเลิศ, ภรทิพย์, "มาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะอาชีพ : แนวทางการใช้ค่าเรียนคอร์สออนไลน์เป็นค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 8243.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/8243