Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2022

Document Type

Independent Study

First Advisor

ณัชพล จิตติรัตน์

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2022.136

Abstract

สิ่งปลูกสร้างได้มีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไป การพัฒนาของที่อยู่อาศัยได้มีหลากหลายมากขึ้นโดยที่อยู่อาศัยไม่จำเป็นต้องมีการปลูกสร้างลงบนที่ดิน ฝังลงดิน หรือยึดติดตรึงถาวรเสมอไป ได้แก่ รถบ้านเคลื่อนที่ (Recreational Vehicle , Mobile Home, Caravan) ที่ใช้เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและหาประโยชน์อื่นใด จึงมีประเด็นที่ควรพิจารณาว่า รถบ้านเคลื่อนที่ประเภทดังกล่าวเข้าข่ายขอบเขตตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 หรือไม่ โดยคำนิยาม “สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น” ที่บุคคลอาจเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอยได้ซึ่งให้หมายความรวมถึงแพที่บุคคลอาจใช้อยู่อาศัยได้หรือที่มีไว้เพื่อหาผลประโยชน์ด้วย เอกัตศึกษาเล่มนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาถึงหลักการจัดเก็บภาษีรถบ้านเคลื่อนที่ในประเทศไทย และการจัดเก็บภาษีรถบ้านเคลื่อนที่ในต่างประเทศเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงกฎหมายที่เกี่ยวข้องและหาจุดบกพร่องหรือข้อควรแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้มาตรการทางกฎหมายในประเทศไทย จากการศึกษาของผู้เขียนพบปัญหาการตีความ “สิ่งปลูกสร้าง” ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ที่ไม่ครอบคลุมถึงยานพาหนะที่เป็นที่อยู่อาศัยมีลักษณะเคลื่อนที่ได้ ทำให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี โดยไม่สอดคล้องกับหลักผลประโยชน์ที่ได้รับ (Benefit Principle) และหลักความเป็นธรรม (Fairness Principle) ซึ่งขัดแย้งกับหลักการพื้นฐานของการจัดเก็บภาษีที่ดีและยังขัดต่อเจตนารมณ์ของภาษีทรัพย์สิน ผู้เขียนมีความเห็นว่ารถบ้านเคลื่อนที่มีองค์ประกอบการเป็นสิ่งปลูกสร้างอื่นที่บุคคลอาจเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอยได้ หรือที่ใช้เป็นที่เก็บสินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรม ที่เข้าข่ายการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 โดยพิจารณาจาก 4 องค์ประกอบเทียบเคียงได้จากแพ ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง องค์ประกอบที่หนึ่ง ประโยชน์จากการใช้สินทรัพย์ที่มีวัตถุประสงค์ในการเข้าอยู่อาศัยและใช้สอย องค์ประกอบที่สอง ลักษณะการไม่ติดตรึงลงบนพื้นดิน องค์ประกอบที่สาม มีลักษณะที่สามารถการเคลื่อนที่ได้เช่นเดียวกับแพ องค์ประกอบที่สี่ การได้รับประโยชน์จากสาธารณูปโภคและทรัพยากรในท้องถิ่นเช่นเดียวกับแพ จากองค์ประกอบดังกล่าวทำให้ผู้เขียนมีความเห็นว่ารถบ้านเคลื่อนที่ ควรจะถือเป็น “สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่บุคคลอาจเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอยได้” ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 โดยมีข้อเสนอแนะให้รถบ้านเคลื่อนที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และได้รับการยกเว้นจากการจัดเก็บภาษี รถบ้านเคลื่อนที่ทุกชนิด (รถเฉพาะกิจมอเตอร์โฮม) ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ประกอบกับพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 เพื่อขจัดความซ้ำซ้อนของภาษีและเพื่อความเป็นธรรม ทั้งนี้ จะต้องมีการกำหนดลักษณะของรถบ้านที่ชัดเจน ในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 เพื่อประโยชน์ในการจำแนก รถบ้านเคลื่อนที่ ออกจากรถยนต์ทั่วไปที่ใช้เพื่อการคมนาคมขนส่งโดยปกติ และเพื่อความชัดเจนในการยกเว้นภาษี นอกจากนี้ เมื่อรถบ้านเคลื่อนที่ (Recreational Vehicle , Mobile Home, Caravan) อยู่ในบังคับที่จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแล้ว ภาษีส่วนนี้ควรถูกจัดเก็บเป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแทนกรมขนส่งทางบก

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.