Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2022
Document Type
Independent Study
First Advisor
วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2022.127
Abstract
การประกอบกิจการร้านอาหารที่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าร้านอาหารด้วย พบว่าเป็นค่านิยมใหม่ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นที่มาจากพฤติกรรม Pet Humanization คือ การเลี้ยงดูสัตว์เลี้ยงเสมือนลูก และจะให้ความสำคัญต่อสัตว์เลี้ยงค่อนข้างสูง อยากให้สัตว์เลี้ยงของตนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขเพิ่มขึ้น รวมถึงการพาออกไปเที่ยวเล่นนอกบ้าน ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงสวนสาธารณะเท่านั้น แต่ยังรวมถึงห้างสรรพสินค้า หรือการพาเข้าร้านอาหารต่าง ๆ ด้วย กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการผู้ประกอบการร้านอาหารเกี่ยวกับ การพาสัตว์เลี้ยงเข้าร้านอาหารในไทย พบว่ามีกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องอยู่หลายฉบับ แต่ส่วนใหญ่ในกฎหมายไทยจะบัญญัติไว้ในทางอ้อม ไม่ได้กล่าวถึงการห้ามเข้าโดยตรง เช่น ใน พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 นั้นกำหนดเพียงว่าให้ผู้ประกอบธุรกิจอาหารต้องประกอบอาหารให้บริสุทธิ์ ซึ่งได้ให้ความหมายไว้ใน มาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ผู้ประกอบการอาจต้องตีความในกฎหมายเองต่อไปว่า ในการจะทำให้อาหารบริสุทธิ์เข้าข่ายตามคำนิยามที่กำหนดไว้ จะต้องปฏิบัติตนอย่างไร ให้ถูกต้องตามคำนิยาม คำนิยามหนึ่งที่ว่าอาหารไม่บริสุทธิ์ คืออาหารที่ได้ผลิต บรรจุหรือเก็บรักษาไว้โดยไม่ถูกสุขลักษณะ ผู้ประกอบการจะต้องเล็งเห็นแล้วว่า ในการที่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้ามาร่วมใช้บริการในร้านอาหารนั้น อาจจะทำให้ขนของสัตว์ที่สามารถหลุด และปลิวมาปนเปื้อนในจานอาหารที่กำลังจะนำไปเสิร์ฟ หรือปนเปื้อนไปในครัวที่กำลังเตรียมอาหารอยู่ได้ และเมื่อผู้บริโภคอาหารเหล่านั้นไปแล้วส่งผลให้อาจจะเกิดอันตราย ถึงขั้นแก่ชีวิต หรือสัตว์เลี้ยงอาจจะก่อความรำคาญให้แก่ผู้ที่อยู่ภายใต้ร้านอาหารเดียวกันได้ หรือในอีกกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกฉบับหนึ่งคือ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 จะมีเนื้อหาส่วนที่เกี่ยวข้องกับสัตว์หรือสัตว์เลี้ยงซึ่งได้บัญญัติไว้ใน หมวดที่ 5 เรื่องเหตุรำคาญ (2) การเลี้ยงสัตว์ในที่หรือโดยวิธีใด หรือมีจำนวนเกินสมควรจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ นั้นให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อผู้เขียนพิจารณาจากบทบัญญัติข้างต้นแล้ว ในเรื่องของเหตุรำคาญเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงนี้อาจมีความเกี่ยวข้องการเรื่องการนำสัตว์เลี้ยงเข้าไปใช้บริการในร้านอาหารโดยตรง เนื่องจากการเลี้ยงสัตว์ที่เกินจำนวนสมควร อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญต่าง ๆต่อผู้คนอื่น ๆที่ใช้บริการในร้านอาหาร เนื่องจากผู้เลี้ยงไม่สามารถดูแลสัตว์เลี้ยงของตนได้อย่างทั่วถึง และหมวดที่ 6 เรื่องการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ มีการกล่าวถึงเรื่องการควบคุมสัตว์เลี้ยงหรือการปล่อยสัตว์เลี้ยงในพื้นที่สาธารณะ โดยมีหลักการสำคัญคือเพื่อรักษาสภาพความเป็นอยู่ในชุมชนให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของผู้คน รวมถึงเพื่อป้องกันโรคระบาดที่อาจติดต่อจากสัตว์สู่สัตว์หรือสัตว์สู่คนได้ ดังนั้นเจ้าของสัตว์เลี้ยงจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อควบคุมสัตว์เลี้ยงของตนไม่ให้สร้างความเดือดร้อน รวมถึงควบคุมดูแลสัตว์เลี้ยงไม่ให้อยู่ในสภาวะที่สามารถนำเชื้อโรคมาติดต่อผู้คนในสังคมได้ดังนั้นเจ้าของสัตว์เลี้ยงจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อควบคุมสัตว์เลี้ยงของตนไม่ให้สร้างความเดือดร้อน รวมถึงควบคุมดูแลสัตว์เลี้ยงไม่ให้อยู่ในสภาวะที่สามารถนำเชื้อโรคมาติดต่อผู้คนในสังคมได้ ในการวิจัยครั้งนี้ จึงเห็นสมควรศึกษาถึงปัญหา และข้อบกพร่องของกฎหมายไทย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการบังคับใช้กฎหมาย บทลงโทษ รวมถึงหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจ ที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันไม่สามารถที่จะเข้ามาจัดการผู้ประกอบการร้านอาหารที่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าร้านอาหารได้อย่างเด็ดขาด โดยตรงและเต็มประสิทธิภาพแต่อย่างใด เนื่องจากยังขาดกฎหมายหรือมาตรการที่ให้อำนาจในการเข้ามาจัดการ และควบคุม ดังนั้นควรจะมีการกำหนดมาตรการที่เกี่ยวข้องโดยตรงอย่างชัดเจน รวมถึงอาจจะมีการจัดตั้งหน่วยที่รับผิดชอบขึ้นมาใหม่ เพื่อกำกับดูแลผู้ประกอบการให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รวมถึงมีบทลงโทษในสำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามด้วย
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ลิขิตเจริญนุกูล, โญดา, "แนวทางการกำหนดมาตรการเรื่องการนำสัตว์เลี้ยงเข้าใช้บริการในร้านอาหาร" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 8209.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/8209