Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The influences of online word of mouth communicaton’s exposure, perceived risks and eนิเทศศาสตร์nvironmental awareness on consumers’ purchase intention of electric vehicle (ev)
Year (A.D.)
2021
Document Type
Independent Study
First Advisor
วรวรรณ องค์ครุฑรักษา
Faculty/College
Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)
Degree Name
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิเทศศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.IS.2021.329
Abstract
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของการเปิดรับการสื่อสารแบบบอกต่อออนไลน์ การรับรู้ความเสี่ยงในด้านการเงิน ด้านประสิทธิภาพ ด้านจิตวิทยา และการตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ของผู้บริโภค โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่มีเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า และอยู่ในช่วงอายุที่มีกำลังซื้อ ระหว่าง 35-60 ปี จำนวนทั้งสิ้น 200 ตัวอย่าง ผลการวิจัยที่ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression) แบบ Stepwise สรุปได้ว่า การรับรู้ความเสี่ยงด้านการเงิน การรับรู้ความเสี่ยงด้านจิตวิทยา การเปิดรับการสื่อสารแบบบอกต่อออนไลน์ และ การตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ 4 ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ของผู้บริโภคมากที่สุดตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 26.1 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยจากผลการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำเสนอแบบจำลองเส้นทางการหาข้อมูลในการซื้อรถยนต์แบตเตอรี่ไฟฟ้าของผู้บริโภคเพื่อเป็นแนวทางในการการออกแบบการสื่อสารของรถยนต์แบตเตอรี่ไฟฟ้า โดยในด้านของผู้ส่งสาร ควรสื่อสารผ่านกลุ่มผู้มีอิทธิพลทางความคิดในวงการรถยนต์ ในขณะที่ผู้บริโภคจะเข้าถึงข้อมูลจากเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลอย่างกูเกิ้ล และยูทูบ โดยมีจุดดึงดูดสารอยู่ที่ข้อมูลที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกมั่นใจและไม่กังวลว่าจะมีความเสี่ยงในการซื้อเกิดขึ้น เช่น ความคุ้มค่าทางการเงิน และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this study was aimed to study influences of online word of mouth communication’s exposure, perceived financial risk, perceived performance risk, perceived psychology risk, and environmental awareness on consumer’s purchase intention of electric vehicle (EV). This study was survey research using the questionnaire; the data was collected from 200 samples, who aged between 35-60 years and exposed to information related to electric vehicles. The study that verified the assumption was analyzed with stepwise multiple linear regression and found that perceived financial risk, perceived psychology risk, online word of mouth communication’s exposure and environmental awareness are the most influential factors respectively on consumer’s purchase intention of EV. The equation from interpreting is at the .05 significant level and the correlation of the variables is 26.1 per cent. Based on the findings, endorsing with online influencers in automotive industry is suggested for senders. Google and YouTube are considered customers’ first touchpoints, while the message appeals are advised to be focused on driving consumer confidence and making consumers worry less about the risks after purchase such as financial worthiness and environmentally friendly product.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ชูมณี, วรวุฒิ, "อิทธิพลของการเปิดรับการสื่อสารแบบบอกต่อออนไลน์ การรับรู้ความเสี่ยงและการตระหนักต่อ ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภค" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 7945.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/7945