Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Graphic design for digital platform for extrovert group
Year (A.D.)
2021
Document Type
Independent Study
First Advisor
เพิ่มศักดิ์ สุวรรณทัต
Faculty/College
Faculty of Fine and Applied Arts (คณะศิลปกรรมศาสตร์)
Department (if any)
Department of Creative Arts (ภาควิชานฤมิตศิลป์)
Degree Name
ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นฤมิตศิลป์
DOI
10.58837/CHULA.IS.2021.308
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์เพื่อดิจิทัลแพลตฟอร์มสำหรับกลุ่มเอ็กซ์โทรเวิร์ต เนื่องจากสถานการณ์ภัยพิบัติต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ ได้ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมต้องปรับเปลี่ยน หรือพฤติกรรมบางอย่างในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะกลุ่มคนเอ็กซ์โทรเวิร์ต ซึ่งพฤติกรรมที่ต้องปรับเปลี่ยนนั้นทำให้เกิดการพึ่งพาการใช้สื่อ หรือดิจิทัลแพลตฟอร์มสำหรับใช้งานหรือติดต่อสื่อสารกับผู้คน ซึ่งผู้วิจัยเล็งเห็นว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันจะกลายเป็นเรื่องปกติในอนาคต ที่คนบางกลุ่มอาจคุ้นชินกับการใช้ชีวิต ทำกิจกรรม และทำงานภายในที่พักอาศัยของตนมากกว่าการออกไปทำงานข้างนอก จนกลายเป็นการใช้ชีวิตวิถีใหม่ หรือที่เรียกว่า New normal วิธีที่ใช้ในงานวิจัยคือ รวบรวมข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ดิจิทัลแพลตฟอร์ม บทความ งานวิจัย และสื่ออินเทอร์เน็ต โดยนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำแบบสอบถามออนไลน์โดยให้กลุ่มเป้าหมาย จากนั้นผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้านเนื้อหา ข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ และสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเอ็กซ์โทรเวิร์ต เพื่อพิจารณาหาบุคลิกภาพที่เหมาะสมกับโครงการการออกแบบเรขศิลป์เพื่อดิจิทัลแพลตฟอร์มสำหรับกลุ่มเอ็กซ์โทรเวิร์ต และใช้แก้ปัญหานำวิจัยด้วยการออกแบบสื่อเรขศิลป์ สรุปผลการวิจัยพบว่า แนวโน้มในการออกแบบเรขศิลป์ควรใช้รูปทรงอิสระ และใช้สีสันที่สดใส มีชีวิตชีวา โดยเฉพาะสีส้ม จะช่วยกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายอยากใช้งานมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการออกแบบบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้งานมีส่วนร่วม และสภาพแวดล้อมเสมือนจริง บนดิจิทัลแพลตฟอร์มจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจ และสมควรนำมาใช้ในการออกแบบเรขศิลป์เพื่อดิจิทัลแพลตฟอร์มสำหรับกลุ่มเอ็กซ์โทรเวิร์ต
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This research aims to find ways to graphic design for digital platform for Extrovert Group, as the ongoing catastrophic situations affect certain behaviors or behaviors in life, especially the extroverts. The behavior that needs to be adjusted has led to a reliance on the use of media or digital platforms to use or communicate with people, which the researchers recognized as changing behaviors to match current situations to become commonplace in the future. Some people may be more used to living, doing activities and working in their shelters than working outside, becoming a new way of living, also known as the new normal. The method used in the research is to collect information from various research media, including digital platforms, articles, and more. By using the information obtained to create online questionnaires for the target audience. The researchers then analyzed the content data. Data from online questionnaires and in-depth interviews with extrovert audiences to determine the right personality for the digital platform design project for the extrovert Group and use it to solve research-led problems with media design. Summary of the research showed that trends in design should use freeform and bright colors. Lively, especially orange, will encourage the target audience to want to use it even more. This includes designing services that keep users engaged and a virtual environment. On digital platforms, it adds to the appeal and deserves to be used in the graphic design for digital platform for Extrovert Group
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
นาคุณทรง, พาขวัญ, "การออกแบบเรขศิลป์เพื่อดิจิทัลแพลตฟอร์มสำหรับกลุ่มเอ็กซ์โทรเวิร์ต" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 7924.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/7924